วันนี้ฝึกงานเป็นวันที่ 3 แล้ว รู้สึกง่วงจริงๆเลย จากเคยนอนตี2 ตี3 ต้องรีบนอนห้ามเกินเที่ยงคืน เคยตื่นเที่ยง ต้องตื่น 6 โมงตรงเด๊ะๆๆๆ แล้วก็ต้องฝ่าฝันกับรถที่ติดแหงกๆๆๆ อีก เริ่มคิดถึงตอนเปิดเทอมขึ้นมานิดนึงแล้วสิ อิอิ ^o^
วันนี้มีเพื่อนใหม่จากลาดกระบังมาฝึกที่แผนกเพิ่มอีก 1 คน ชื่อว่า โด่ง อยู่ภาคคอม แต่ไม่เคยเจอกันเลย - -"
>>Abis interface : สายที่ลากจาก BTS ไป BSC เป็นสาย Fiber
>>Ater interface : สายจาก BSC ไป TRAU หรือจาก MSC ไป TRAU
NSS (Network Switching Subsystem) เป็นส่วนของ Switching
- Air Interface
เป็นช่องทางจาก MS (Mobile station) ไป Antenna ในระบบ GSM ใช้การ Multiplex แบบ TDMA ร่วมกับเทคโนโลยี FDMA ช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานในแต่ละช่วงเรียกว่า TS (Time Slot)
Logical Channel
1) BCH ( Broadcast Channel) จะทำการใส่หน้าที่ให้แต่ละ TS จะมี UL&DL ประกอบไปด้วย
1.1) FCCH ( Frequency Corrective)หาความถี่ที่คุย SCH ( Synchronization)
1.2) CCCH ( Common Control Channel) เปรียบเหมือนนาฬิกาให้จังหวะให้ตรงกับ TS
1.3) BCCH ( Broadcast control) เป็นที่ระบุให้รู้ว่าโทรศัพท์ใช้งานไหนอยู่และทำอะไรบ้าง ประกอบไปด้วย Cell ID, ARFCN, and Options ซึ่งรวมเรียกว่า System Information
2) CCCH ( Common Control Channel) ใช้ในการ setup call ประกอบไปด้วย
2.1) PCH ( Paging) ใช้ในการติดต่อกับเบอร์ปลายทาง
2.2) AGCH ( Access Grant) ใช้ในการแสดงผลของการร้องขอสัญญาณจาก RACH
2.3) RACH ( Random Grant) ใช้ในการร้องขอสัญญาณซึ่งมนกระบวนการ setup ก็จะมี MTC ( Mobile Terminating Call ) คือกระบวนการ setup call ของฝั่งผู้รับ MOC (Mobile Originating Call ) คือกระบวนการ setup call ของฝั่งผู้โทร
3) DCH ( Dedicated Channel) แบ่งออกเป็น
3.1) SDCCH ( Stand alone Dedicated) จะทำหน้าที่เป็น call setup โดยตรง และ เกี่ยวกับ SMS and LOC-UP ( Location Update)
3.2) SACCH ( Slow Associated Control) Measurement Report ประกอบไปด้วย Pathloss และ RxLevel
3.3) FACCH ( Fast Associated Control) H/O (MS active)3.4) CBCH ( Cell Broadcast)
4) TCH ( Traffic Channel) คือ ช่องสัญญาณที่จะคุย จะเป็นลักษณะของ voice+data จะแบ่งเป็น
4.1) FR ( Full Rate) 16 kbps
4.2) HR ( Half Rate) 8kbps
ใน 1 TS จุได้ 16 k maximum แต่ถ้าคนคุยเยอะก็อาจจะแบ่ง TS ของ FR เป็น HR จะทำเฉพาะในส่วนของ voice คุณภาพก็จะต่ำลงแต่ก็ยังสามารถที่จะคุยรู้เรื่อง ถ้าเป็นส่วนของ data จะส่งเป็น FR เท่านั้น
กระบวนการที่โทรศัพท์เครื่องหนึ่งติดต่อกับโทรศัพท์อีกเครื่องอธิบายง่ายๆ ได้ว่า เมื่อมีความต้องการใช้งานจากเครื่อง A โทรไปยังเครื่อง B ส่วนของ RACH จะมีการร้องขอไปยัง BS จากนั้นจะมี AGCH ตอบรับหรือปฎิเสธกลับมา ถ้าเป็นการตอบรับ จะมีการระบุ TS ด้วย BS จะทำการติดต่อกับโทรศัพท์เครื่อง B ด้วย PCH และร้องขอใช้ช่องสัญญาณด้วย RACH จากนั้นด้าน B จะตอบรับหรือปฎิเสธการใช้ช่องสัญญาณด้วย AGCH หากทั้งสองฝ่ายตอบรับตรงกันก็สามารถใช้ TCH (Traffic channel) คือสามารถติดต่อหากันได้ ซึ่ง RACH จะทำหน้าที่ set up เพื่อให้ได้ SDCCH และSDCCH จะทำหน้าที่ set up เพื่อให้ได้ TCH นั่นเอง^ ^" (ประมาณนี้แหละมั้ง)
Time Slot ของ Air interface : 8TS=1TDM ที่ใช้ความถี่เดียวกัน ดังนั้นถ้าจะสร้างอีก 8 TS หรือ 8 คู่สัญญาณ ต้องสร้างที่อีกความถี่หนึ่ง ซึ่งความถี่หนึ่งๆที่ใช้เรียกเป็น 1 TRX ซึ่งรองรับได้ 8 คู่สัญญาณนั่นเอง
ใน Cell หนึ่งๆอาจใช้ได้หลายความถี่ หลายๆ Cell ประกอบรวมเป็น Site แต่ละ Site จะถูกตั้งชื่อตามพื้นที่เป็น Code 4 หลัก เช่น Site(ABAC) เป็นต้น และแต่ละ Cell ใน Site นั้นๆ ก็จะถูกเรียกชื่อตามชื่อ Site เช่น Cell1 ชื่อ ABAC1 , Cell2 ชื่อ ABAC2 , Cell3 ชื่อ ABAC3 เป็นต้น ที่สำคัญที่สุดในแต่ละครั้งที่เกิด Alarm ขึ้นจะบ่งบอกว่าเกิดที่ BSC อะไร Cell ไหน และ Site ไหน ด้วย
>> ARFCN (Absolute Radio Frequency Channel Number) คือความถี่ในการใช้งานแต่ละ cell ซึ่งในระบบ GSM900 กำหนด Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณ 200kHz และความถี่ Up link กับความถี่ Down link จะใช้ความถี่ต่างกัน โดยความถี่ Down link จะมากกว่าความถี่ Up link เพราะตัวมือถือสามารถส่ง Power ได้น้อย Up link ซึ่งมีความถี่น้อยกว่าจึงสามารถส่งได้ระยะทางไกลกว่าทดแทน ส่วน Down link มีความถี่มากกว่า ส่งได้ระยะทางใกล้เนื่องจากสามารถเพิ่ม Power ที่ส่งจาก Antenna ได้
ARFCN แบ่งออกเป็น ULและ DL ระหว่าง UL กับ DL จะเว้นห่างกันประมาณ 3 TS เพื่อให้ประมวลผล ใน 1 TS ใช้เวลาประมาณ 557 ไมโครวินาที ARFCN 1-124 มีความห่างของช่องสัญญาณ 200 kHz ความถี่ของ UL และ DL จะต้องตรงกันทุกครั้ง ความถี่ของ UL คือ 890-915 MHz ส่วนของ DL จะอยู่ที่ 935-960 MHz
HSN ( Hopping Sequence Number) จะอยู่ในตู้ของ BTS เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนความถี่กัน โดยการ share ความถี่กันไปมาเพื่อหาความถี่ที่ดีที่สุด
- Abis Interface
>>TRAUทำหน้าที่ Compress (บีบอัด)หรือ Depress(ขยาย)
>>BTS ต้องยี่ห้อเดียวกับ BSC แต่ BSC ไปถึง MSC จะเป็นมาตรฐานสากลใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้
2 ความคิดเห็น:
บัดดี้ๆ รีบๆเขียนนะ จะรอลอก เอ๊ย รออ่าน
ไม่คิดว่าเราก็สอนได้เรื่องเหมือนกันนะเนี่ย
ขอแก้หน่อยนะ
ตรง
Logical Channel
1) BCH ( Broadcast Channel) จะทำการใส่หน้าที่ให้แต่ละ TS จะมี UL&DL ประกอบไปด้วย
1.1) FCCH ( Frequency Corrective)หาความถี่ที่คุย SCH ( Synchronization)
1.2) SCH ( Synchronization Control Channel) เปรียบเหมือนนาฬิกาให้จังหวะให้ตรงกับ TS
แสดงความคิดเห็น