วันนี้ก็เป็นเหมือนวันปกติที่ผ่านมาแต่ไม่รู้ว่าทำไมก่อน 10โมงนี่ ง๊วง...ง่วง จะหลับซะให้ได้เชียว ตอนบ่ายนี่ยังไม่เท่าไร 555
วันนี้มีติวเตอร์ทั้งหมด 3 คนด้วยกัน เรียนหลายเรื่อง แต่ไม่รู้เรื่องซักเรื่อง ..555..(ล้อเล่นนะคะ)
ติวเตอร์คนแรก ...พี่ฟริ้น สอนเรื่อง "Job status"
ติวเตอร์คนที่2 ...พี่หนึ่ง สอนเรื่อง "Format ของ GSM Network"
ติวเตอร์คนที่3 ...พี่ซอส สอนเรื่อง "3G"
พี่ๆตั้งใจสอน ให้พวกเรามีความรู้เยอะๆขนาดนี้ แล้วสมองน้อยๆของพวกหนูจะเก็บกันหมดมั้ยละคะเนี่ย อิอิอิ
เอ้าๆ เข้าเรื่องเลยแล้วกัน
- Job Status
เริ่มตั้งแต่เมื่อ NMC เห็น Alarm(CFMS) ออกใบJob ให้ MTN ทำการแก้ไขซ่อมบำรุง โดยใน JB จะต้องมี Tittle, Task Des, Assign by , Assign to ...โดยในแต่ละ Job จะมี Status เพื่อแสดงสถานะของ Job นั้นๆ ซึ่งปกติจะมี Job Priority เป็นตัวกำหนดความสำคัญของงาน มี SLA (Service Level Agreement) เป็นขอบเขตและเป้าหมาย และจะนำค่า SLA ไปตีเป็นค่า KPI (Key Performance Index) เป็นตัววัดศักยภาพของคนในการทำงาน (ใช้คิดโบนัส)
- ต้องมี 1 status ของ Job ที่บอกว่ากำลังมีคนเข้าไปทำงานที่ site นี้อยู่
- ซ่อมหาย จะมีสถานะ Job 1 status
- ซ่อมไม่เสร็จ (ยังปิด job ไม่ได้) >>>1) รอของ 2)รอปรึกษาleader 3)case ยากมาก
- MTN สามารถโอนงานให้คนอื่นได้
- Format ของ GSM Network
MSISDN (Mobile Subscriber Integrated Service Digital Network) = CC+NDC+SN :โดย CC คือ รหัสประเทศ (ประเทศไทย 66) ,NDC แบ่งตาม operator ,SN รายเบอร์ต่างกันไป
E212 :
IMSI (International Mobile Subscriber Identity) IMSI = MCC + MNC + MSIN :เป็นข้อมูลที่อยู่ใน SIM (ประเทศไทยขึ้นต้นด้วย 520) โดย MCC คือ รหัสประเทศ , MNC แบ่งตาม operator , MSIN เป็นรหัสที่ไม่ซ้ำกันเลย
>>> หลักๆก็จะดู MCC ว่าอยู่ประเทศอะไร และ MNC ว่าอยู่ operator อะไร
ประโยชน์ :ในการทำ Location update ครั้งแรก จะมีการส่งค่านี้ไปที่สถานีฐานเพื่อประมวลผลและวิ่งไปหา HLR เพื่อตรวจสอบว่ามีเบอร์นี้อยู่รึป่าว ถ้ามีก็จะทำการ Location update ได้ แต่ถ้า IMSI นี้ไม่อยู่ใน operator นั้นจะทำ Location update ไม่ได้ และเมื่อ IMSI วิ่งไปหา HLR เรียบร้อยแล้วจะส่ง TIMSI กลับมา
IMEI (International Mobile Equipment Identity) = TAC + FAC + SNR + SVN : เป็นรหัสของเครื่องมือถือ โดย TAC คือ Type Allocation Code ,FAC คือโรงงานที่ผลิต ,SNR คือ Serial number , SVN คือ Software Version Number เป็นต้น ถ้าอยากรู้ว่ามือถือเรา IMEI อะไรก็ลองกด *#06# ดูก็ได้นะจ๊ะ
- 3G
>>ที่มาของ 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G เป็นเทคโนโลยีของยุคที่ถัดมาจาก 2G ซึ่งมีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน คือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง จากการแข่งขันอย่างรุนแรงแทบทุกประเทศและปรากฎการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง จึงมีการสร้างบริการไร้สายรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการต่อไป เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น
1G : เป็น Analog , ไม่สามารถใช้ร่วมกันในต่างระบบได้
2G : แก้ปัญหาต่างระบบ ต่างพื้นที่ให้ใช้งานร่วมกันได้
3G : ไม่ว่าระบบไหนก็ใช้ร่วมกันได้ถ้าเป็นมาตรฐาน 3G เหมือนกันจะใช้เหมือนกันได้หมดเลย , ใช้ service ของ AIS ยังไงถ้าเปลี่ยนไปใช้ operator อื่นก็จะใช้ service เดิมอยู่ , เน้น 1.internet 2.telecom service 3. information
GSM : Bandwidth ของ GSM อยู่ที่ 200 kHz ความเร็วในการส่งข้อมูลในอากาศ 270 symbol/sec
3G : Wideband CDMA Bandwidth 5 MHz (ทำให้รองรับผู้ใช้งานได้เยอะขึ้น) ความเร็วในการส่งข้อมูลในอากาศ 3.84 Mc/secData rates : ในระบบ GSM 9.6 kbps , EDGE 384 kbps ต้องอยู่นิ่งกับที่, UMTS Vehicular 144 kbps เคลื่อนที่ได้ในความเร็วที่จำกัด , Pedesstrian 384 kbps , Indoor 2 Mbps
ในระบบ 3G ใช้เทคโนโลยี FDD ความถี่ up link 1.92-1.98 GHz และความถี่ down link 2.1-2.17 GHz ร่วมกับเทคโนโลยี TDD ใช้แค่ความถี่เดียว แต่ใช้การแบ่งเวลาเอา ความถี่ที่ใช้ประมาณ 2.1 GHz
ADSL , VDSL , ADSL ture plus รวมๆกันเรียก xDSL ใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับ Data ความเร็วในการ Download และ Upload จะไม่เท่ากัน โดยความเร็วในการใช้งานจะขึ้นอยู่กับระยะทาง (บ้านเราอยู่ในพื้นที่บริการรึป่าว?) และคุณภาพสาย (ทองแดง ไม่ใช่ Fiber ) ดังนั้นถ้าเราต้องการติดตั้ง internet ที่ต้องการความเร็วมากกว่าปกติ จะต้องถามให้แน่ใจก่อนว่า ชุมสายอยู่ที่ไหน??
ในระบบ 3G มีการเรียกชื่ออุปกรณ์ที่เปลี่ยนไปจากระบบ GSM เช่น BSS จะถูกเรียกเป็น RAN (Radio Access Network) คือการ access network ต่างๆจะใช้มาตรฐานเดียวกัน , NSS จะถูกเรียกเป็น CN (Core network) , BTS จะถูกเรียกเป็น Node B
Release 99 >> ตัวแรกที่เป็น 3G เปลี่ยนจาก TDMA เป็น CDMA >> BSC + PCU กลายเป็น RNC
Release 4 >> 3G phase 2 >> พูดถึง GSM 700 MHz >> เริ่มเปลี่ยนแปลง Core network
Release 5 >> Ideal
Frequency re-use pattern : ในระบบ GSM การใช้งานจะใช้หลายๆความถี่ใน โดยที่ขอบเซลล์ตอนที่กำลังจะข้ามเซลล์สัญญาณอาจมี power ต่ำลง เมื่อเปลี่ยนจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่งความถี่ที่ใช้งานก็จะเปลี่ยนไป ส่วนในระบบแบบ CDMA จะมีการใช้งานที่ความถี่เดียวโดยใช้การเข้ารหัสแทน
Basic Cellular System :
CAPEX >> ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
OPEX >> ค่าใช้จ่ายในการ operation
Fixed Line>> รองรับแค่ voice อย่างเดียว
PSTN(Public Switching Telephone Network) : PSTN เดิม (voice อย่างเดียว) ไม่สามารถรองรับความต้องการใช้งานแบบ Non-voice ที่มากขึ้นได้ จึงต้องมีการออกแบบให้รองรับการใช้งานได้โดยมี 2 ทางเลือก คือ
1) เปลี่ยนเป็น IP ......(ไม่เวริ์ค)
2) ปรับปรุงโครงข่ายเดิม >>> soft switch
Cell Splitting :
ในพื้นที่ที่มีการใช้บริการหนาแน่น หรือมีอุปกรณ์การสื่อสารจำนวนมาก เซลล์ปกติรองรับการใช้เครือข่ายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงต้องมีการ split ความถี่ โดยมีการลดพื้นที่ของเซลล์ลงและสามารถรองรับคนได้เท่าเดิม จึงจะเพียงพอต่อความต้องการใช้งานเครือข่าย
Wow.. วันนี้ความรู้แน่นจิง....หลับๆตื่นๆ ตื่นๆ หลับๆ......555
1 ความคิดเห็น:
เห็นใจนะที่เรียนหนัก แต่พี่ๆอยากให้จริงๆ พอได้อ่านก็รู้เลยว่าอย่างน้อยน้องก็ได้ฟังเรานะ ดีจัง
แสดงความคิดเห็น