ก่อนไปทัศนศึกษาก็ต้องเรียนกันก่อน ตอนเช้าก็เรียนเกี่ยวกับ... AIS Mobile Network
- Core network
วงกลมสีน้ำเงิน>>> เป็นแบบ PS : Packet Switch
วงกลมสีม่วง>>> เป็นแบบ CS : Circuit Switch
BTS ย่อมาจาก Base Transceiver Station
GMSC : เป็น gateway เอาไว้เชื่อมต่อกับ operator อื่นๆ
HLR : เป็น data base ไว้เก็บฐานข้อมูลลูกค้า
VLR : เป็น data base ไว้เก็บฐานข้อมูลลูกค้า
SGSN : Serving GPRS Support Node
GGSN : Gateway GPRS Support Node
อาจเป็นการใช้บริการโทรศัพท์ หรือ อินเตอร์เน็ต ก็ได้
- VAS :บริการ VAS เป็นบริการเสริม
GSM : IVR (หมอดู,ผลบอล) ,SMS(short message,ส่งโปรแกรม,ส่งdata),USSD(บริการที่ขึ้นต้นด้วย * ลงท้ายด้วย #),VMS(Voice mail system,ดารารับสายแทน),VOICD(จำพวก voice mail แต่จะให้ฟังเพลงแทน),RBT(Ring back tone,calling melody)
GPRS : MMS(ส่งภาพ,เสียง,ภาพเคลื่อนไหว+text),WAP(web บนมือถือ,WML,HTM,HTML),PTT(ไม่ได้เปิดให้บริการเนื่องจากเอาไว้ใช้ภายในเท่านั้น)Note : sms 1 short message ส่งได้สูงสุด 160 ตัวอักษร (ภาษาอังกฤษ) หรือ 80 ตัวอักษร (ภาษาไทย) แต่มือถือรุ่นใหม่ๆจะแบ่ง message ยาวๆ ส่งไปประกอบที่ปลายทางเอง , MMS จะ limit size ที่ตัวเครื่องมือถือ ปกติไม่เกิน 300 kB โทรศัพท์กล้อง 5 ล้าน ถ่ายรูปละ 1MB เวลาส่งมันจะ resize ให้เองเลย เพื่อให้มีขนาดพอดีที่จะส่งไปได้
- IN network (Intelligent network)
เป็นระบบดูแลลูกค้า 1-2-call จำนวน 23 ล้านคน (ลูกค้า AIS 25 ล้านคน เป็น 1-2-call 23 ล้านคน เป็น GSM 2 ล้านคน)
ก่อนที่ A number จะโทรหา B number ได้ จะต้องมีการตรวจสอบยอดเงินคงเหลือของลูกค้า A number ก่อน ที่ IN network- AIS content interface
หากลูกค้าต้องการ download content โดยผ่าน content partner ที่ connect อยู่บน internet และเชื่อมต่อผ่าน VAS โดยจะมี CDG คั่นไว้ เหมือนเป็นก๊อกน้ำ CDG จะส่งคำขอไปถามตัว controller ทั้งหมด โดย Damoles เป็น data base ที่เป็น inmemory database ที่ AIS พัฒนาขึ้นเอง 100% (Damocles ไฟดับก็ล่มหมด เพราะทุกอย่าง run อยู่บน RAM สามารถ query ลูกค้าได้ 5,000 คน ต่อ วินาที ) ซึ่งถ้าลูกค้าเป็น 1-2-call ต้องไปตัดเงินที่ IN network ก่อน
- Base station
>> รถ mobile มีหน้าที่ในการเพิ่มช่องสัญญาณชั่วคราว กรณีที่พื้นที่ใดๆต้องการใช้ช่องสัญญารที่มากเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่ที่มีการรับปริญญา เป็นต้น
>> สาย feeder ใช้ต่อขึ้นไปบนเสาไกด์ โดยจะใช้สลิงในการตรึงเสาไว้
>> แอร์มี 2 ตัว ทำงานสลับกัน ตัวละ 12 ชั่วโมง
>> แบตเตอรี่สำรอง สามารถสำรองไฟได้ถึง 3 ชั่วโมง
base station แบบต่างๆ
- เป็นตู้ BTS เล็กๆ การ์ด 1 ช่อง มี 8 ช่องสัญญาณ โดยตู้ใส่การ์ด 1 ตู้ ใส่การ์ดได้ 6 ช่อง คุยพร้อมกันได้ทั้งหมด 6 x 8 = 48 คน (หรือ 48 ช่องสัญญาณ)
- เป็นเสาแบบมีขาตั้ง 4 ด้าน ไม่ต้องใช้สลิงในการตรึง โดยตู้ base station ถ้าเป็นของ AIS จะมีฐานเป็นปูนซีเมนต์ เพื่อป้องกันน้ำท่วม
- เป็น micro radio base station ขนาดเล็กมากๆ 1 ตู้มี 16 ช่อง site เล็กมาก จึงมีกำลังส่งได้ไม่ไกล ใช้ในเมืองที่มีการใช้งานหนาแน่นเป็นหลัก เช่น สยามสแควร์ ราคาประมาณ 2แสนบาทต่อตู้
- site ศูนย์หนังสือจุฬา ติดตั้งยากมากกกกกกก...... มีข้อจำกัดมากมาย แถมแถวนั้นเป็นเขตกรุงเทพชั้นในห้ามใช้ microwave อีกด้วย จึงต้องใช้สาย feeder ที่ยาวมากกๆๆๆๆๆๆ (สาย feeder แพงมากๆๆๆ)
ช่วงบ่ายของวันนี้พวกเรามีภาระกิจอันใหญ่หลวงที่จะต้องแนะนำแผนก NOC ให้กับเพื่อนๆที่ฝึกงานสาย operation ร่วม 50 คน โดยช่วงเช้าจะมีการแนะนำแผนกจาก powerpoint (ของพี่ฟริ้น อิอิ) เล็กน้อย ก่อนที่จะพามาชมสถานที่จริงในช่วงบ่าย
พวกเราแบ่งกันเป็น 2 กลุ่มพาเพื่อนกลุ่มละ 25 คน เดินดูพี่ๆ NOC ทำงานกัน กลุ่มแรกจะมี นิ้ง หนึ่ง แล้วก็แหว๋ว พาเพื่อนๆ ดูแผนก NOC ที่ชั้น9ก่อน ส่วนกลุ่มสองจะมี เม่ย เขอ แล้วก็โด่ง พาเพื่อนๆดูชุมสายที่ชั้น8ก่อน หลังจากนั้น ทั้งสองกลุ่มก็สลับกันเยี่ยมชม
บรรยากาศวันนี้สนุกและเฮฮาสุดๆ พอทั้ง2กลุ่มสลับกันเรียบร้อย พวกเราและเพื่อนๆทั้งหมดก็พากันเดินไปที่ตึกพหลโยธินเพลส เพื่อเยี่ยมชม ACC หรือว่า Call center มีการเล่าการทำงานของพี่ๆที่ call center แล้วก็เล่นเกมส์ตอบคำถามกันนิดหน่อย ก็ปล่อยกลับบ้านกัน
คืนนี้นอนหลับสบายเลย เพราะเหนื่อยจิงๆ - -"
1 ความคิดเห็น:
รูปเรา ทำไมดูง่วงนอนจัง
เอารูปตอนเราหล่อๆลงหน่อยได้มะเนี่ย คู่บัดดี้
แต่จำได้วันที่ พรีเซนต์ แย่งนิ้งพูดตลอดเลยว่ะ
แสดงความคิดเห็น