วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551

Photoshop

28 เมษายน 2551 :
วันนี้ก็ได้เรียน photoshop อีกแว้ว ^o^ ......(จะได้เอาไว้ใช้ประโยชน์ใน hi5 ซะที 555+) วันนี้ก็เรียนเครื่องมือต่อจากคราวที่แล้วนั่นเอง...ก่อนอื่นเรามาทบกวนกันก่อนเลย

Patch Tool : เอาสีตรงส่วนอื่นมาแทนที่โดยเลือกส่วนที่เป็น source และส่วนที่เป็น destination
Healing brush Tool : ทำให้ดูเนียน
Color Replacement Tool : ระบายสีส่วนเดิมให้เป็นสีใหม่ โดยความเข้มของสียังคงเหมือนเดิม
Clone stamp Tool : คัดลอกพื้นที่ข้างเคียง
Eraser Tool : ยางลบ สามารถปรับ flow ทำให้ลบอ่อนๆหรือลบเข้มๆ ได้
Gradient Tool : ไล่สีจาก front ground ไป back ground

ทบทวนคร่าวๆไปแล้วก็ไปเรียนตัวต่อไปกันเลย...

Blur Tool : ทำเบลอ

Sharpen Tool : ใช้แต่งขอบของวัตถุให้ชัด

Smudge Tool : เกลี่ยสี

Dodge Tool : ทำให้สว่าง โดยเลือกรูปแบบที่ range ประกอบด้วยmidtones,shodows,highlights

Burn Tool : ทำให้สีเข้มขึ้น

Sponge Tool : เลือก saturate ทำให้สีดูอิ่ม , เลือก desaturate ดูดสีให้จาง

Type Tool : พิมพ์ตัวอักษร พิมพ์เสร็จ Ctrl+enter เลือกได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง

Path selection Tool : เลือก path อิสระ ทำให้เส้นโค้งได้โดยการ click ขวา + selection ใช้ทำรูปทรงอิสระ (จะให้วัตถุ2อย่างเคลื่อนที่พร้อมกันเลือกเครื่องมือ link (ลูกโซ่)(deselection=ctrl+d))

Drag control point : จัดการเส้น path โดยตรง

Note : เป็นเครื่องมือที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวภาพ เหมือนเป็น note เกี่ยวกับตัวภาพทิ้งไว้เฉยๆ

filter>>>liquify>>>ทำให้ภาพใหญ่ขึ้นเป็นจุด,ขย้ำให้เล็กลง,ทำให้ภาพบิด,ทำให้แหลม ได้ด้วย >>>ลองเล่นดู ^o^

25 เม.ย.

25 เมษายน 2551

24 เม.ย.

24 เมษายน 2551

SMC #1

23 เมษายน 2551 : SMC #1


วันนี้เป็นวันแรกที่จะได้ไปเรียนรู้แผนก SMC อย่างใกล้ชิด พี่ๆที่แผนกนี้เป็นที่รู้กันว่าฮามั่กๆ วันนี้พี่เอก็มาสอน service ต่างๆ ,การทำ location update แล้วก็สอนให้ดู command ต่างๆ นิดหน่อย

Location Update : เพื่อให้ระบบรู้ว่ามีเบอร์นี้อยู่ในระบบ เหมือนเป็นการรายงานตัวว่าไม่ใช่ซิมเถื่อนนะ แล้วก็รายงานที่อยู่ว่าอยู่ที่ไหน

IMSI อยู่ที่ SIM (1SIM จะมี 1 IMSI) ส่วน IMEI อยู่ที่เครื่อง

เมื่อ A number ต้องการโทรไปหา B number จะมีการติดต่อจาก base>>>> MSC โดยมือถือ A โทรหามือถือ B จะส่ง IMSI 15 หลักไป ซึ่ง IMSI จะเป็น Standard ทั่วโลก

3 ตัวแรก = mobile country code

2 ตัวต่อมา = mobile network code เช่น 01 เป็นของ AIS , 23 เป็นของ GSM 1800

ที่เหลือ = แล้วแต่ละ operator




เราสามารถดู profile ลูกค้า ได้จาก MSC เช่น

NAM 0 แปลว่า สามารถเล่น GPRS ได้ (แล้วแต่ประเทศอีกแหละ)

CFU-1 แปลว่า ให้โอนสายทุกกรณี

OBO-1 แปลว่า ลูกค้าไม่จ่ายค่าบริการ เลยโดนบาร์ไม่ให้โทรออก

BAIC แปลว่า บาร์รับสายทุกกรณี (ลูกค้าสามารถทำเองได้)

OBO-4 แปลว่า 1-2-call

BOIC แปลว่า บาร์โอนสายออกต่างประเทศ

CAW Active แปลว่า รับสายซ้อนได้

การใช้งาน (รายงานตัว) : เปิด-ปิดเครื่อง เบอร์จะวิ่งมาที่ HLR ก่อน (HLR ที่ได้ทำการเปิดไว้) แล้วจะวิ่งกลับไปที่ MSC ที่ใช้บริการอยู่ เช่น เปิด HLR ที่สุขา 3 ไปโทรที่เชียงใหม่ ก็ต้องวิ่งมาที่สุขา 3 ก่อน แล้วกลับไป MSC ที่เชียงใหม่ โดยจะมี VLR address เป็นเหมือนเบอร์ GT บอกว่าเราอยู่ที่ไหนตอนนี้ และ SGSN number บอกว่าลูกค้าจับ node ไหนอยู่

เบอร์นี้ใช้ service อะไรได้บ้าง? : เช่น TS20 = SMS , TS60 = ส่งFAX , BS20 = Data service

สถานะเครื่อง : เช่น DET ปิดเครื่อง , IDLE เปิดเครื่อง(พร้อมรับสาย) ,BUSY ใช้งานอยู่ โดยถ้าลูกค้ามีการปิดเครื่องนานๆ ทางระบบจะ clear ข้อมูลของลูกค้าโดยอัตโนมัติ

Presentation NOC

22 เมษายน 2551 : Presentation NOC

ก่อนไปทัศนศึกษาก็ต้องเรียนกันก่อน ตอนเช้าก็เรียนเกี่ยวกับ... AIS Mobile Network
  • Core network

วงกลมสีน้ำเงิน>>> เป็นแบบ PS : Packet Switch
วงกลมสีม่วง>>> เป็นแบบ CS : Circuit Switch


BTS ย่อมาจาก Base Transceiver Station
GMSC : เป็น gateway เอาไว้เชื่อมต่อกับ operator อื่นๆ
HLR : เป็น data base ไว้เก็บฐานข้อมูลลูกค้า
VLR : เป็น data base ไว้เก็บฐานข้อมูลลูกค้า
SGSN : Serving GPRS Support Node
GGSN : Gateway GPRS Support Node



อาจเป็นการใช้บริการโทรศัพท์ หรือ อินเตอร์เน็ต ก็ได้

  • VAS :บริการ VAS เป็นบริการเสริม

GSM : IVR (หมอดู,ผลบอล) ,SMS(short message,ส่งโปรแกรม,ส่งdata),USSD(บริการที่ขึ้นต้นด้วย * ลงท้ายด้วย #),VMS(Voice mail system,ดารารับสายแทน),VOICD(จำพวก voice mail แต่จะให้ฟังเพลงแทน),RBT(Ring back tone,calling melody)

GPRS : MMS(ส่งภาพ,เสียง,ภาพเคลื่อนไหว+text),WAP(web บนมือถือ,WML,HTM,HTML),PTT(ไม่ได้เปิดให้บริการเนื่องจากเอาไว้ใช้ภายในเท่านั้น)

Note : sms 1 short message ส่งได้สูงสุด 160 ตัวอักษร (ภาษาอังกฤษ) หรือ 80 ตัวอักษร (ภาษาไทย) แต่มือถือรุ่นใหม่ๆจะแบ่ง message ยาวๆ ส่งไปประกอบที่ปลายทางเอง , MMS จะ limit size ที่ตัวเครื่องมือถือ ปกติไม่เกิน 300 kB โทรศัพท์กล้อง 5 ล้าน ถ่ายรูปละ 1MB เวลาส่งมันจะ resize ให้เองเลย เพื่อให้มีขนาดพอดีที่จะส่งไปได้

  • IN network (Intelligent network)

เป็นระบบดูแลลูกค้า 1-2-call จำนวน 23 ล้านคน (ลูกค้า AIS 25 ล้านคน เป็น 1-2-call 23 ล้านคน เป็น GSM 2 ล้านคน)

ก่อนที่ A number จะโทรหา B number ได้ จะต้องมีการตรวจสอบยอดเงินคงเหลือของลูกค้า A number ก่อน ที่ IN network


  • AIS content interface

หากลูกค้าต้องการ download content โดยผ่าน content partner ที่ connect อยู่บน internet และเชื่อมต่อผ่าน VAS โดยจะมี CDG คั่นไว้ เหมือนเป็นก๊อกน้ำ CDG จะส่งคำขอไปถามตัว controller ทั้งหมด โดย Damoles เป็น data base ที่เป็น inmemory database ที่ AIS พัฒนาขึ้นเอง 100% (Damocles ไฟดับก็ล่มหมด เพราะทุกอย่าง run อยู่บน RAM สามารถ query ลูกค้าได้ 5,000 คน ต่อ วินาที ) ซึ่งถ้าลูกค้าเป็น 1-2-call ต้องไปตัดเงินที่ IN network ก่อน


  • Base station
ก่อนไปดูวีดีทัศน์แสดง base station แบบต่างๆ แต่ก่อนหน้านั้นมีเนื้อหาเล็กๆน้อยๆ มาให้คลายเครียดกันก่อน ^o^

>> รถ mobile มีหน้าที่ในการเพิ่มช่องสัญญาณชั่วคราว กรณีที่พื้นที่ใดๆต้องการใช้ช่องสัญญารที่มากเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่ที่มีการรับปริญญา เป็นต้น

>> สาย feeder ใช้ต่อขึ้นไปบนเสาไกด์ โดยจะใช้สลิงในการตรึงเสาไว้

>> แอร์มี 2 ตัว ทำงานสลับกัน ตัวละ 12 ชั่วโมง

>> แบตเตอรี่สำรอง สามารถสำรองไฟได้ถึง 3 ชั่วโมง


base station แบบต่างๆ
  1. เป็นตู้ BTS เล็กๆ การ์ด 1 ช่อง มี 8 ช่องสัญญาณ โดยตู้ใส่การ์ด 1 ตู้ ใส่การ์ดได้ 6 ช่อง คุยพร้อมกันได้ทั้งหมด 6 x 8 = 48 คน (หรือ 48 ช่องสัญญาณ)
  2. เป็นเสาแบบมีขาตั้ง 4 ด้าน ไม่ต้องใช้สลิงในการตรึง โดยตู้ base station ถ้าเป็นของ AIS จะมีฐานเป็นปูนซีเมนต์ เพื่อป้องกันน้ำท่วม
  3. เป็น micro radio base station ขนาดเล็กมากๆ 1 ตู้มี 16 ช่อง site เล็กมาก จึงมีกำลังส่งได้ไม่ไกล ใช้ในเมืองที่มีการใช้งานหนาแน่นเป็นหลัก เช่น สยามสแควร์ ราคาประมาณ 2แสนบาทต่อตู้
  4. site ศูนย์หนังสือจุฬา ติดตั้งยากมากกกกกกก...... มีข้อจำกัดมากมาย แถมแถวนั้นเป็นเขตกรุงเทพชั้นในห้ามใช้ microwave อีกด้วย จึงต้องใช้สาย feeder ที่ยาวมากกๆๆๆๆๆๆ (สาย feeder แพงมากๆๆๆ)



ช่วงบ่ายของวันนี้พวกเรามีภาระกิจอันใหญ่หลวงที่จะต้องแนะนำแผนก NOC ให้กับเพื่อนๆที่ฝึกงานสาย operation ร่วม 50 คน โดยช่วงเช้าจะมีการแนะนำแผนกจาก powerpoint (ของพี่ฟริ้น อิอิ) เล็กน้อย ก่อนที่จะพามาชมสถานที่จริงในช่วงบ่าย

พวกเราแบ่งกันเป็น 2 กลุ่มพาเพื่อนกลุ่มละ 25 คน เดินดูพี่ๆ NOC ทำงานกัน กลุ่มแรกจะมี นิ้ง หนึ่ง แล้วก็แหว๋ว พาเพื่อนๆ ดูแผนก NOC ที่ชั้น9ก่อน ส่วนกลุ่มสองจะมี เม่ย เขอ แล้วก็โด่ง พาเพื่อนๆดูชุมสายที่ชั้น8ก่อน หลังจากนั้น ทั้งสองกลุ่มก็สลับกันเยี่ยมชม

บรรยากาศวันนี้สนุกและเฮฮาสุดๆ พอทั้ง2กลุ่มสลับกันเรียบร้อย พวกเราและเพื่อนๆทั้งหมดก็พากันเดินไปที่ตึกพหลโยธินเพลส เพื่อเยี่ยมชม ACC หรือว่า Call center มีการเล่าการทำงานของพี่ๆที่ call center แล้วก็เล่นเกมส์ตอบคำถามกันนิดหน่อย ก็ปล่อยกลับบ้านกัน

คืนนี้นอนหลับสบายเลย เพราะเหนื่อยจิงๆ - -"

Trainning

21 เมษายน 2551 : Trainning

วันนี้มีการเทรนนักศึกษาฝึกงานสาย operation ทั้งหมดที่ตึกชินวัตร1 ชั้น19 ห้อง Auditorium ถ้าจะให้เล่าอย่างละเอียดทั้งหมดหน้านึงเห็นจะไม่พอ เอาแบบคร่าวๆละกัน (ไม่ใช่อารายหรอก พอดีหลับไปเป็นช่วงๆด้วยแหละ จดมาแต่เฉพาะช่วงที่ตื่นง่ะ 5555+)

Telecom Technology Group
  • Wired :

- xDSL เช่น ADSL (Asymmetric) ความเร็วสูงสุดที่เปิดให้บริการโดยทั่วไปคือ 4 Mbps การบริการจะขายตาม quality ไม่ได้ขายตามปริมาณการใช้งานเหมือน GSM

- Cable Modem

- FTTx เช่น FTTH เปลี่ยนจากสายทองแดงเป็นสาย fiber ความเร็วต่ำสุด 100 Mbps การใช้งานเช่น VDO on demand

  • Fixed Wireless : การใช้งานสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะจำกัด เช่น

- WiFi กำลังส่ง 0.1Watt ความถี่ 2.4 GHz ระยะทาง 50เมตร ใช้ได้ในพื้นที่จำกัดและไม่สามารถใช้งานข้าม access point ได้ จึงทำให้การใช้งานไม่ต่อเนื่องในบางโอกาสอาจมีรอยต่อบ้าง (WiFi เปลี่ยน access point ก็จะได้ IP ใหม่ แต่ mobile wireless ถึงเปลี่ยนaccess point ก็ยังคงใช้ IP เดิมอยู่

- WiMAX

- Bluetooth

- Zigbee เป็น wireless ประเภทหนึ่ง แต่มีความเร็วต่ำมาก เช่น ส่ง binary 0 เพื่อเปิดไฟ และ ส่ง binary 1 เพื่อปิดไฟ ราคาไม่แพง ใช้ microcontroller ในการควบคุม

  • Wireless Technologies :

Mobile>>GSM , GPRS , EDGE , 3G , UMIS , HSDPA ความถี่ 3.6 Mbps เหมือนเอา hi-speed internet มาไว้บนมือถือ

Fixed>> WiFi 802.11n ความเร็วประมาณ 100 Mbps ใช้เทคโนโลยี MIMO (multi input multi output)

WiMAX>> พัฒนาจาก WiFi มาตรฐาน 802.16 เทคโนโลยีล่าสุด 802.16e รองรับการเคลื่อนที่ ได้ระยะทางไกลถึง 3-4 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 10-75 Mbps

4G>> LTE(long Term Evolution) ความเร็วสูงกว่า 100 Mbps ขึ้นไป รองรับการเคลื่อนที่

เพิ่มเติมคำศัพท์ทางด้าน Network= LAN (ติดตัว) ,LAN(ตามตึก) ,MAN(cellular), WAN (ระบบมือถือต่างๆใช้ทั่วประเทศ)

WiMAX

เป็นเหมือน WiFi ใส่ยาโด๊ป ความถี่ใช้งาน 2-11 GHz และ 10-66 GHz เป็น public frequency ต้องขออนุญาตก่อน เช่นขอสัมปะทาน หรือ ไลเซนต์จาก กทช. ตอนนี้เมืองไทยกำลังอยู่ในช่วงทดลองอยู่ที่ความถี่ 2.5 GHz และ 3.5 GHz

  • LOS & NLOS

มือถือให้บริการในรูปแบบ NLOS ซึ่ง LOS สัญญาณจะดีกว่า NLOS มาก

- LOS : ความเร็ว 75 Mbps ได้ระยะทาง 50 กิโลเมตร

- NLOS : ความเร็ว 10 Mbps ได้ระยะทาง 4 กิโลเมตร

ผู้สนับสนุนเทคโนโลยี WiMAX อย่างเป็นทางการ คือ Samsung , intel , Motorola (Nokia สนับสนุนอยู่ห่างๆ) รวมทั้ง Operator Sprint

ลักษณะใช้งานเหมือน ADSL แต่เป็นแบบไร้สายจึงแก้ปัญหาความต้องการใช้งานนอกพื้นที่บริการ เพียงแค่ตั้งเสาอากาศกับ modem หรือจะใช้แบบ LOS ก็ได้ คือ รับจากสถานีฐานมาด้วย WiMAX แล้วปล่อยต่อในอาคาร อพาร์ตเมนต์ หรือ บ้าน ด้วย WiFi

  • ประโยชน์

- bandwidth สูง , อาจใช้รายงานการจราจร หรือ รายงานคนป่วยได้ , กล้องดูขโมย และ เป็น wireless internet ในบ้านได้

ปัจจุบัน กทช. ออกไลเซนน์ ให้หน่วยงานทำการทดลองเรื่อง WiMAX คือ AIS และ TT&T ถ้า กทช ให้ commercial ไลเซนน์ ก็จะมี WiMAX ออกมาขายกัน

3G

พัฒนาการเครือข่ายเดิมให้รองรับข้อมูลความเร็วสูงขึ้น รองรับการใช้งานได้มากขึ้น การลงทุนถูกลง ทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์

  • 1G : มือถือยุคแรก หลักการคือ ทำยังไงก็ได้ทำให้ fixed line กลายเป็น wireless เช่น โทรศัพท์มือถือตามบ้าน , pct เป็นต้น ทำให้ดักฟังง่ายมากเพราะเป็น FM ธรรมดา และอุปกรณ์เป็น analog
  • 2G : อุปกรณ์เป็น digital ไม่สามารถดักฟังได้ มีการ roaming คือ เครื่องเดิม เบอร์เดิม ย้ายประเทศก็ใช้ได้ แต่ในระบบ2Gนี้ความเร็วยังคงต่ำอยู่
  • 3G : มี 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบ GSM ส่วนแบ่งการตลาด 99.5% เช่น AIS ,DTAC, TRUE MOVE , Thai mobile อีกระบบคือ CDMA ส่วนแบ่งการตลาด 0.5% มีความต้องการใช้เหลือค่ายเดียว และมีความเร็วสูงขึ้น โดยมี service concept คือ 1service ใช้ได้ทุกเครือข่ายไม่ว่าจะ access จาก WiFi , Mobile หรือ Fixed line
  • 4G : โลกของ IP ความเร็วสูงกว่า 100 Mbps ขึ้นไป (ในปี 2511 ประเทศญี่ปุ่นจะ commercial ระบบ 4G)

ความเร็ว (ตัวเลขทางทฤษฎี) :GSM น้อยกว่า 10kbps, GPRS 20-40 kbps, EDGE 384 kbps, 3G 2Mbps, HSDPA 14.4 Mbps ,CDMA 300 kbps

CDMA vs WCDMA : CDMA มี bandwidth 1.25 MHz และ WCDMA มี bandwidth 5 MHz ดังนั้น WCDMA มี bandwidth ที่มากกว่า CDMA

ถ้าพูดถึง convergence จะคิดถึงอะไร?

convergence เป็นบริการเดียวกันแต่ใช้หลายสื่อ เช่น VDO on demand ถ้าลูกชายอยากดู VDO ที่กำหนดอายุผู้ชม ระบบจะส่ง sms ไปถามการอนุญาติจากคุณพ่อก่อน ถ้าคุณพ่ออนุญาติลูกชายถึงจะดูได้ ....อารายยังเงียะ

Soft-Phone

ในการโทรศัพท์ภายในองค์กร ไม่ต้องใช้ตัวโทรศัพท์จริง ใช้เพียง software ติดต่อผ่าน IP protocol ทั้งหมด

IP Phone

เสียบสาย LAN แทนสาย โทรศัพท์

iphone

T-mobile ร่วมมือกับ Apple ทำ iphone เพียง 3 ล้านเครื่องทั่วโลก โดย 2 ล้านเครื่องมีจำหน่ายในอเมริกา ส่วนอีก 1 ล้านเครื่องหายสาบสูญ -*-

Easy 5 Terminal

เป็นโทรศัพท์สำหรับผู้สูงอายุ memory เบอร์โทรศัพท์ได้ 4 เบอร์ ใช้โทรเข้า-ออก อย่างเดียว

Home Plug & PLC

ซื้อ ADSL มาแล้วแต่อยากเล่นข้างบนบ้าน สายไม่ถึง ไม่อยากใช้ WiFi กลัวข้างบ้านแย่งเล่น หลักการคือการนำสัญญาณ digital ไป modulate กับสายไฟฟ้าที่บ้าน (Power Line Communication) แล้วนำไปใช้ได้เลย (ยี่ห้อ Corunex>> Broadcast บนสายไฟแรงสูง)

WMN (Wireless Mesh Network)

หลักการคือ ใช้สายจุดเดียวแล้วใช้ WiFi ส่งเป็น hope ต่อๆกันไป ใช้ได้ทั้งหมู่บ้าน

ทั้งหมดของวันนี้ก็ประมาณนี้แหละ หุหุ......

Train เสร็จ พวกเราก็พากันเดินกลับมาที่ NOC เพื่อซ้อมทำพรีเซ้นต์ในวันพรุ่งนี้อีกครั้ง (เพื่อนๆไปโยนโบลิ่งกันหมดแล้ว T^T )

เตรียมการ

18 เมษายน 2551 : เตรียมงานกันให้วุ่น

วันนี้ก็วันศุกร์ซะแล้ว การพรีเซ้นต์แผนก NOC ก็เริ่มใกล้เข้ามาทุกที แต่ดูเหมือนพวกเรายังไม่ได้เตรียมอะไรกันเลยด้วยสิ ทุกคนเริ่มตั้งความหวังไว้กับ powerpoint ของพี่ฟริ้น(สุดหล่อ) อย่างตาเป็นมัน เปิดไปดูในสไลด์ โอ้วว...มีแต่ภาษาอังกฤษ จะไฮโซเกินไปแล้ววว...แต่ก็นะ...ยังไงก็เป็นความหวังเดียวของเรานี่หน่า ติดใจก็แต่ flash ของพี่ฟริ้น(หล่อสุดๆ....ยอกันจัง 55+) หวังว่าเพื่อนๆคงจะเข้าใจหน้าที่การทำงานของแผนก NOC ด้วย flash อันนี้แหละ !!!

พวกเราเริ่มตาลีตาลานไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี มีการประชุมแบ่งงานกันอย่างเป็นสัดส่วนโดยมีเพื่อนร่วมชะตากรรมเพิ่มมาอีก 1 คน ชื่อว่าแหว๋ว (ว้า..ไม่มีรูปมาอวด) แหว๋วฝึกอยู่ที่ CFM อยู่ฟากตรงกันข้ามกัน จะมาร่วมพรีเซ้นต์แผนก NOC ด้วยกันอีกคน

มีการทำป้ายแนะนำแผนก แปะตามจุดต่างๆ แล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้าน โดยมีการนัดแนะกันว่าวันจันทร์ 5 โมงครึ่ง จะมีการซ้อมพรีเซ้นต์กันครั้งสุดท้าย...... - _ - " - * -

โปรดติดตามตอนต่อไป

Photoshop #2

17 เมษายน 2551 : Photoshop #2

วันนี้เรียน photoshop อีกแล้ว ชอบๆๆ..อิอิ วันนี้เรียนเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการรีทัชรูปภาพด้วยจิ หุหุหุหุ เครื่องมือที่เรียนวันนี้มีอยู่ 6 ตัว

  1. Brush Tool + Pencil Tool : เป็นพู่กันและดินสอ โดยดินสอจะคมชัดกว่า ส่วนพู่กันจะดูนุ่มนวลกว่า สามารถเลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นให้เล็กหรือใหญ่ได้ เลือกลักษณะของเส้นได้ ปรับ Opacity และ Flow เพื่อให้ความใสของสีได้ตามใจชอบ
  2. Healing Brush Tool : กด Alt ค้างไว้เพื่อ copy พื้นที่นั้นๆ ใช้ลบสิว ลบริ้วรอยได้ ^o^
  3. Patch Tool : ย้ายพื้นที่ที่ต้องการแก้ไข โดยเลือก source หรือ destination ได้
  4. Color Replacement Tool : ใช้สี front ground ไประบายแทน โดยจะได้ความหนักเบาของสีเหมือนเดิม
  5. Clone Stamp Tool : กด Alt ค้างไว้แล้วเลือกจุดที่ต้องการแก้ไข
  6. History Brush Tool : ระบายพื้นที่ที่ทำไปก่อนหน้านี้จะได้ภาพเดิมกลับออกมา
  7. Eraser Tool : จะใช้สี back ground ระบายแทนที่
  8. Gradient Tool : ไล่สีจาก front ground ไป back ground
  9. Paint Bucket Tool : เติมสีในพื้นที่ปิด

เรียนกันนิดหน่อยพอเป็นกระไส ... ในช่วงเช้า

ส่วนช่วงบ่ายนั้น....ทำ IR21 ต่อยาวเลยจร้า ^o^

วันนี้ก้อจบไปอีก 1 วัน..... 200ๆ อิอิ

Photoshop #1

16 เมษายน 2551 : External Alarm & Switching & Photoshop #1

เริ่มต้นวันใหม่หลังจากปิดสงกรานต์ไปซะนาน ได้นอนหลับอย่างเต็มพิกัดซะที หุหุ ...วันนี้เรียกน้ำย่อยด้วย photoshop กันก่อน พี่ฟริ้น สอนเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในโปรแกรมphotoshop และความรู้พื้นฐานอีกนิดหน่อย

ความรู้เบื้องต้น
Resolution> ความละเอียด (72 (ต่ำสุด)ใช้กับงานในคอม , 300 ใช้กับงานสิ่งพิมพ์)
Color mode> เลือกRGB color (3สีผสมกัน=สีดำ) หรือ เลือก CMYK color(4สีผสมกัน=สีขาว)สำหรับงานพิมพ์ 4 สี แต่ละสีใช้ 8 bit
Background> พื้นหลัง ปกติเลือก white
Preset> เลือกขนาด A4(สำหรับงานพิมพ์) , ขนาดหน้าจอธรรมดา

เครื่องมือในการใช้งาน
Marquee Tool : กดshiftค้างแล้วลาก จะได้รูปที่สมมาตร
Move Tool : กด Alt ค้าง ขณะ move จะทำการ copy โดยสร้าง layer ใหม่ให้โดยอัตโนมัติ
เครื่องมือรูปตา : บอกว่า ให้แสดง layer นั้นรึป่าว
เครื่องมือรูปพู่กัน : บอกว่า เรากำลังทำการเขียนที่ layer นี้อยู่
Lasso Tool : ใช้ทำการ cut รูป โดย select ภาพ > copy > เลือก layer ใหม่ (อาจใช้ด้วยการวาดด้วยมืออิสระ,รูปเหลียม หรือ แม่เหล็ก)
Magic Wand Tool : เลือกสีที่มีพื้นที่ติดกันและเป็นสีเดียวกัน (ถ้าต้องการเลือกสีที่ใกล้เคียงกัน ใช้การเพิ่มค่า Tolarance ให้มากหน่อยเพราะ Tolarance เป็นเหมือนค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับความผิดพลาดได้)
Crop Tool : ใช้ในการตัดแต่งรูป (สมมติทำการ print screen มา copy แล้ว enter จะได้รูปเล็กออกมา)

External alarm switch
เป็น alarm ที่ servicelance เจอบ่อยที่สุด (99%)
  • อุปกรณ์ที่ redundant กัน (มี 2 system)>> Generator , Transformer
  • อุปกรณ์ที่จะใช้เลือก system >> MTS (Manual Transfer Switch)
  • อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ switch ไฟฟ้า จาก main AC เป็น generator >> ATS (Automatic Transfer Switch)
  • ไฟดับ>มี Alarm main AC Failed และ Alarm generator on load ถ้าไฟฟ้าของการไฟฟ้ามา Alarm ที่ clear ทันที คือ Alarm AC Failed เท่านั้น (Alarm generator on load จะยังอยู่สักพักเนื่องจาก generator ต้องใช้เวลา delay ช่วงหนึ่งก่อนที่จะ off generator
  • ไฟดับ + gen ไม่สามารถใช้งานได้แล้วเนื่องจากน้ำมันหมด node ต่อไปนี้จะได้รับไฟจากอุปกรณ์ดังนี้ >>> MSC:battery
ดังนั้น ไฟดับปุ๊ป>>> Alarm AC + Rectifier +Air >>> สักพัก(ประมาณ4ชั่วโมง)>>> เกิด Alarm Low voltage ตามมา

กว่าจะออกมาเป็น Auto job จะต้องคิดเงื่อนไขทั้งหมดที่เกิดขึ้นและเป็นไปได้ทั้งหมดของ alarm เช่น ถ้ามี alarm 5 alarm จะคิดเงื่อนไขทั้งหมดได้ 5! = 5 x 4 x 3 x 2 x 1 = 120 เงื่อนไข

เพิ่มเติม : เฉลยการบ้านก่อนปิดสงกรานต์
job status
Initiate job >> เป็นสถานะหลังจาก Accept แต่ก่อน On site เป็นสถานะกลางๆเพื่อป้องกันสถานะโจร หรืออาจจะ initiate ไว้ก่อนเข้าก็ได้ (หรืออาจจะ on site เลยก็ได้) หากทำไม่เสร็จภายใน 1 วัน ต้องกลับไปสู่สถานะ Initiate job ก่อน มาทำต่อจึงค่อยเปลี่ยนเป็น On site เพื่อป้องกันสถานะโจร (Intruder)
Report >> ในกรณีต่างๆที่กำลังทำการแก้ไขปัญหาอยู่จะต้องทำเป็น report เช่น รอของ,รอปรึกษา หรือ กำลังพยายามแก้ไขอยู่ เมื่อทำการแก้ไขได้แล้วจะต้อง report เพื่อทำการระบุสาเหตุของปัญหา แต่ถ้า report ไปแล้ว alarm ยังไม่หาย จะต้องมีการ reassign ใหม่
Auto Job >> เช่น ไฟดับ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551

สุขสันต์วันสงกรานต์


12 - 16 เมษายน 2551 : พบรักที่สีลม 5555+
คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

Data Base

11 เมษายน 2551 : Data base

วันนี้พี่แอลจะสอนเรื่อง data base แต่น้องๆผู้แสนรู้ไม่ได้เคยรู้เรื่อง data base มาก่อนหน้านี้เล๊ยยย จึงทำให้เกิดอาการฟังไม่ได้สับจับทำเขียน blog มั่วๆไป 5555+

เอาละ ไหนๆวันนี้ก็เรียนไม่รู้เรื่อง เลยจะหาข้อมูลเรื่อง "Crystal reports" แล้วก็ "Oracle" ที่พี่เค้าพูดถึงมาอ่านไว้เป็นความรู้ประทับหัวกันล่ะ ^o^


  • Oracle


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ORACLE 10g

•Edition ของ Oracle Database 10g
–Oracle Database 10g Standard Edition one รองรับผู้ใช้งานหลายคน ทำงานกับเครื่องที่มีจำนวนซีพียูไม่เกิน 2 CPU
–Oracle Database 10g Standard Edition (SE) รองรับผู้ใช้งานหลายคน ทำงานกับเครื่องที่มีจำนวนซีพียูไม่เกิน 4 CPU
–Oracle Database 10g Enterprise Edition (EE) รองรับผู้ใช้งานหลายคน โดยไม่จำกัดจำนวนซีพียู และเพิ่มเติมคุณสมบัติในการจัดการแบบพิเศษ
–Oracle Database 10g Personal Edition (PE) มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับแบบ EE แต่รองรับผู้ใช้งานคนเดียว


ORACLE 10g Express Edition (XE)
•เป็น Edition ล่าสุดของ Oracle 10g สามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทางลิขสิทธิ์
•เพื่อให้นักพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ภาษา Java หรือ .net หรือ PHP สามารถดาวน์โหลดไปใช้พัฒนาโปรแกรมได้ ในลักษณะ Freeware แต่อาจมีข้อจำกัดบางประการ รวมถึงใช้ในการศึกษา
•ข้อจำกัดของ Edition XE คือ
–ทำงานกับ CPU เพียง 1 CPU เท่านั้น
–ทำงานกับ Database ได้ทีละ 1 Database (1 Instance)
–เก็บข้อมูลได้สูงสุดเพียง 4 GB
–ทำงานกับหน่วยความจำได้ไม่เกิน 1 GB
•สามารถดาวน์โหลดที่
http://otn.oracle.com หรือ http://www.oracle.com/technology/index.html


การใช้งาน Oracle Database Homepage
•Oracle Database Homepage เป็นเครื่องมือในรูปแบบ wizard ซึ่งทำงานภายใต้ Web Browser เช่น IE หรือ Firefox หรือ Netscape เป็นต้น
•ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำงานดูแลฐานข้อมูลหลักๆ ผ่านเครื่องมือตัวนี้ได้อย่างรวดเร็ว
•วิธีการเรียกใช้ Oracle Database Homepage
1. เรียกผ่าน Web Browser โดยใช้ URL เป็น
http://127.0.0.1:8080/apex/
2. ใช้ Shortcut Menu ที่ Program Group ชื่อว่า Oracle Database 10g Express Edition -> Go To Database Homepage
•เมื่อ login เข้าสู่ Oracle Database Homepage ด้วย user ชื่อ system แล้ว จะพบเครื่องมือ 4 ส่วนได้แก่
–เครื่องมือจัดการงานด้านระบบของฐานข้อมูล (Administrator)
–เครื่องมือจัดการงานด้าน Object ชนิดต่างๆ (Object Browser)
–เครื่องมือจัดการงานด้านการใช้คำสั่ง SQL (SQL)
–เครื่องมือจัดการงานด้านอื่นๆ (Utilities)

•เครื่องมือจัดการงานด้านระบบของฐานข้อมูล (Administrator)
–การจัดการด้านหน่วยความจำที่ระบบฐานข้อมูลใช้
–การจัดการด้านเนื้อที่ในการเก็บฐานข้อมูล
–การจัดการด้านการสร้างและควบคุมผู้ใช้
–การจัดการด้านการตรวจสอบพฤติกรรมการทำงานของระบบฐานข้อมูล

•เครื่องมือจัดการงานด้าน Object ชนิดต่างๆ (Object Browser)
–การจัดการสร้าง (Create) Object ประเภทต่างๆ เช่น Table และ View
–การเรียกดู (Browse) ตัวข้อมูลที่อยู่ใน Object ประเภทต่างๆ เช่น การเรียกดูข้อมูลใน Table

•เครื่องมือจัดการงานด้านการใช้คำสั่ง SQL (SQL)
–การจัดการส่งคำสั่ง SQL เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
–การเขียนคำสั่ง SQL ประเภทต่างๆ
–การสร้างคำสั่ง SQL ในรูปแบบของ Scirpt

•เครื่องมือจัดการงานด้านอื่นๆ (Utilities)
–เครื่องมือการนำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น Text และ XML เข้าสู่ฐานข้อมูล
–เครื่องมือการนำข้อมูลออกจากฐานข้อมูลในรูปแบบต่างๆ


กลุ่ม User ใน Oracle Database 10g XE
•Oracle ทุก Edition จะมี User หลักสำหรับดูแลระบบฐานข้อมูลชื่อ sys และ system
•Oracle Database 10g XE แบ่งกลุ่ม User ของระบบออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
–Internal User เป็นกลุ่มผู้ใช้ที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับระบบภายในของ Oracle Database ซึ่งจะมีสิทธิสูงสุดในการจัดการกับระบบฐานข้อมูล Oracle ซึ่งในที่นี้คือ User ที่ชื่อ sys และ system นั่นเอง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นตำแหน่ง Database Administrator (DBA)
–Database User เป็นกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งจะมีสิทธิในการจัดการฐานข้อมูลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น การจัดการเพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล ตามที่ DBA กำหนดสิทธิไว้

ข้อมูลจาก : http://www.winyou.net/CPC_05-510-323-DatabaseManagementSystem/CPC_05530489-SelectTopic_Week01_B.ppt

ภาษาระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS Language)

การที่ผู้ดูแลฐานข้อมูลจะติดต่อกับฐานข้อมูลได้นั้น จะต้องติดต่อด้วยการใช้คำสั่งในภาษาที่ระบบจัดการฐานข้อมูลรู้จัก เพื่อประโยชน์ในการจัดการฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลบ แทรก แก้ไข หรือค้นหาข้อมูล ภาษาระบบจัดการฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คือ "ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language: SQL)" เป็นภาษาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล และจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล มีลักษณะคำสั่งคล้ายภาษาอังกฤษ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย Almaden Research Center ของบริษัท IBM ต่อมาได้ถูกนำมาพัฒนาโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ด้านระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จนเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายก็พยายามที่จะพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลของตน ให้มีลักษณะเด่นเฉพาะขึ้นมา ทำให้รูปแบบการใช้คำสั่ง SQL มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปบ้าง เช่น Oracle, Access, SQL Base ของ Sybase INGRES หรือ SQL Server ของ Microsoft เป็นต้น

ข้อมูลจาก : http://203.172.220.170/stu_proj/493522/ACCESS1.doc

  • Crystal reports


Overview
•โปรแกรมที่ใช้ออกรายงานที่ใช้ในปัจจุบันนั้นมีหลายโปรแกรม แต่ในหลายโปรแกรมก็มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ข้อจำกัดเรื่องของฟังก์ชันและรูปแบบรายงานต่างๆ ที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ที่จะแสดงผลหรือทำการออกรายงานต่างๆ ที่จำเป็น ฉะนั้นจึงขอแนะนำโปรแกรม Crystal Reports ที่นอกจาก
จะมีฟังก์ชันหลากหลายแล้วยังมี mode แสดงผลทางด้าน Graphic ได้ดีอีกด้วย

Crystal Reports คืออะไร?
•Crystal Reports เป็นผู้นำตลาดทางด้านโปรแกรมการเขียนรายงานสำหรับทุกคนที่จำเป็นที่จะต้องออกรายงาน หรือ query โดยตรงจากแหล่งข้อมูล ,จัดสร้างรายงาน รวมถึงการออกรายงาน จากโปรแกรม Application โดยมีการเข้าถึงข้อมูลได้ถึง 30 แบบของแหล่งข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับผลลัพธ์ในการนำเสนอที่มีคุณภาพ


ทำไมเราถึงเลือกใช้ Crystal Reports ?
1. Access Data from Virtually any Data Source
2. Design Interface Report Quickly
3. Create any Report You Can Imagine
4. Perform Powerful Data Analysis
5. Produce Presentation-Quality Reports


แนะนำการใช้ Crystal Reports
1. การเลือกวิธีการสร้างรายงาน
2. การติดต่อกับฐานข้อมูล
3. การเชื่อมความสัมพันธ์ของตาราง
4. การเลือกฟิลด์
5. การสร้าง Group
6. การหาผลรวม
7.การจัด Group แบบกำหนดค่า
8. การสร้างกราฟ
9. การสร้างเงื่อนไขของข้อมูล
10. การเลือกรูปแบบรายงาน


การนำ Crystal Reports มาใช้ร่วมกับ Visual Basic
•control และ component ที่มีอยู่ใน Visual Basic 6.0(VB) นั้นเป็นตัวที่ช่วยให้ Visual Basic 6.0 นั้นสามารถติดต่อกับ Crystal Reports ซึ่งมีชื่อว่า Crystl32.ocx เราต้องติดตั้งเพิ่มเข้าไป

•การที่เราจะนำรายงานนี่เราได้ไปใช้ร่วมกับ Visual Basic 6.0 มีความจำเป็นที่เราจะต้องทราบถึงตัว control และ component ต่างๆที่จะนำมาใช้ดังนี้
•copiesToPrint กำหนดว่าจะพิมพ์รายงานกี่ชุด
•PrintStartPage ,PrintStopPage กำหนดหน้าแรก และหน้าสุดท้ายที่จะพิมพ์
•ReportFileName กำหนดโฟลเดอร์ และชื่อไฟล์ที่เก็บรายงานที่จะให้คอนโทรลแสดง
•Action ถ้าเรากำหนด Action =1 จะเป็นการพิมพ์รายงานไปยังที่ที่เรากำหนดในคุณสมบัติ Destination
•Destination กำหนดลักษณะการแสดงรายงาน ซึ่งมีลักษณะต่างๆดังต่อไปนี้

0 - To Windows จะแสดงรายงานออกมาทางหน้าต่างในรูป Print Preview
1 - To Printer พิมพ์รายงานไปยัง Printer
2 - To File บันทึกรายงานโดยใช้ชื่อไฟล์ที่เรากำหนดในคุณสมบัติ PrintFileName
3 - To MAPI ส่งรายงานไปทาง E-Mail

•PrintFileName กำหนดชื่อไฟล์ที่จะสร้างขึ้นมา เมื่อเราเลือก Destination เป็น To File


ประโยชน์ของใช้ Crystal Reports ร่วมกับ Visual Basic
1.สามารถออกรายงานในโปรแกรมที่เขียนในโดย Visual Basic 6.0 ได้ ตามรูปแบบที่เราต้องการเนื่องจากตัวสร้างรายงานของ Visual Basic 6.0 เอง มีข้อจำกัด เช่น ไม่สามารถสร้าง Formular ได้ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถ ดูข้อมูลหรือ Field ที่เราต้องการได้
2. มีความหลากหลายในการแสดงรูปแบบของข้อมูล เช่น แสดงในรูปแบบกราฟต่างๆ และมีรูปแบบที่สวยงามกว่าตัวออกรายงานของ Visual Basic 6.0 เอง


การนำรายงานที่ออกแบบไปแสดงบนเว็บ
•ในการออกรายงานผ่าน Web นี้เราไม่สามารถไป Refresh เพื่อให้อ่านข้อมูลจากฐานข้อมูลจริงอีกครั้งได้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเห็นข้อมูลที่เราเพิ่มเข้าไปตอนหลัง หรือต้องการป้อนข้อมูลที่เป็นพารามิเตอร์เข้าไปทำงานได้ แต่ Crystal Reports ก็ยังมีพร็อบเพอตี้GroupSelectionFormular ที่ช่วยให้เราสามารถ เลือกดูข้อมูลที่เราต้องการได้


Transmission

10 เมษายน 2551 : Transmission
  • Transmission

หลังจากที่เราได้เรียนเกี่ยวกับ GSM network ไปอย่างคร่าวๆพอสมควรแล้ว ก็จะมาเรียนกันอย่างละเอียดโดยตอนแรกแบบง่ายๆเราจะมองข้าม TRS เป็นอุปกรณ์ transmission ซึ่งอยู่ระหว่าง BTS และ BSC ไปก่อน โดยอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่ในการ multiplex หรือ MUX นั่นเอง ในกรณีที่ระยะทางในการส่งผ่านจาก BTS ไปยัง BSC มากกว่า 10 km จะไม่ใช้สาย coaxial ในการส่งสัญญาณเนื่องมาจาก loss,noiseและ attenuation เป็นต้น เราจึงใช้การ MUX ในการแก้ปัญหาในการส่งระยะทางไกลๆ โดยจะเปลี่ยนมาใช้เป็น Optic fiber แทน เพื่อรวมสัญญาณความเร็วต่ำส่งไปในสายสัญญาณความเร็วสูง และที่ด้านรับก็จะมีการ DEMUX เพื่อให้ได้สัญญาณความเร็วต่ำเดิมออกมา นอกจากทำให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นแล้วยังช่วยให้ประหยัดขึ้นได้อีกด้วย

Plesiochronous Digital Hierarchy (PDH) เป็นการ multiplex แบบเก่าซึ่ง MUX ได้ความเร็วสูงสุด 155 Mbps เป็นแบบกึ่ง synchronous แบบไม่ต้องใช้ clock มาช่วยโดยต้องต่ออุปกรณ์ที่เป็นแอนาล็อกจึงมีความยุ่งยากมากจึงเปลี่ยนมาเป็น Synchronous Digital Hierarchy (SDH) ซึ่งต้องใช้สัญญาณ clock ช่วยในการเข้าจังหวะ โดยจะมี flag ของแต่ละ frame เป็นตัวกำหนดการเริ่มของ frame




E1 คือ สายสื่อสัญญาณต่ำสุดที่ต้องพิจารณา (ความเร็ว 2 Mbps ) การจะนำ 2 Mbps ไปทำการ multiplex จะต้องเอา 2 Mbps ไปใส่ใน packet ก่อน เรียกว่า "C-12" (ดังนั้น พูดถึง C-12 จะรู้เลยว่าความเร็วต่ำสุด 2 Mbps) เมื่อมีการใส่ over head เข้าไปใน packet เรียกว่า "VC-12" เมื่อมีการใส pointer ซึ่งเป็นตัวชี้ address เมื่อกล่องเล็กๆ (2Mbps) เข้าไปอยู่ในกล่องใหญ่ๆ เรียกว่า "TUG-12" (ตอนนี้เรามีกล่อง 2Mbps ที่มีตราประทับแล้วว่าเป็นกล่องของใคร) จากนั้นเอา กล่องVC-12(หรือ TUG12) จำนวน 3 กล่องมารวมกันเรียกว่า "TUG-2" (TUG-12 x 3 = TUG-2) หลังจากนั้นถ้าเอากล่อง TUG-2 จำนวน 7 กล่องมารวมกันจะเรียกว่า "TUG-3" (TUG-2 x 7 = TUG-3) โดย TUG-3 หากไม่มีการปะ pointer จะเรียกว่า "VC-3" ต่อจากนั้นถ้าเราเอากล่อง TUG-3 จำนวน 3 กล่อง มารวมกันจะเรียกว่า "AUG" โดย 1 AUG จะมีความเร็ว 155 Mbps (2Mbps x 3 x 7 x 3 + overhead + pointer ) ถ้าเราขยายก้อน AUG จะเห็นว่าข้างใน AUG จะมีก้อน 2Mbps ทั้งหมด 63 ก้อน แต่เวลานำก้อน 2Mbps ไปใช้งานตัว multiplex จะเป็นตัวบอกว่าจะดึงก้อนไหนไปใช้งาน

ส่วนใหญ่ BTS และ MUX ทางด้านส่ง จะอยู่ใน site เดียวกันซึ่งระหว่างกลางจะมีอุปกรณ์ Transmission เรียกว่า DDF (Digital distribution frame) จาก MUX ทางด้านส่งจะส่งAUG ผ่านสาย optic fiber ความเร็ว 155 Mbps เรียกว่า "สาย STM-1" เพราะฉะนั้นเวลา planning เครือข่ายจะตั้ง transmission ตามจุดต่างๆเป็น ring เพื่อป้องกันการขาด เพราะถ้าขาดจุดนึงก็เวียนไปอีกทางได้

BSC 1 สถานี จะมีหน้าที่ในการควบคุม หลายๆ Transmission โดยระหว่าง site จะส่งด้วยความเร็วสูง transmission จะถูกวางไว้ทั่ว region ด้วย optic fiber

ใน Overhead จะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับ O&M (Operation & Maintenance)

  • Alarm

การติดต่อสื่อสารระหว่าง TRS กับ TRS หากมีการผิดพลาดในการสื่อสารเกิดขึ้น เช่นสายส่งขาด จะมีสัญญาณเตือนให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายได้รับทราบเรียกว่า Alarm โดยจะยกตัวอย่าง alarm ที่สำคัญดังนี้ เมื่อมีการส่งข้อมูลจาก node A ไป node B เมื่อสายขาด node B จะได้รับ alarm เป็น LOS (loss of signal) และจะมีการส่ง alarm กลับไปทาง node A เป็น RDI (remote detect indicator) แต่ถ้ามีการส่งข้อมูลจาก node B ต่อไปยัง node C ทาง node C จะได้รับ alarm เป็น AIS (alarm indicator signal)

เมื่อ node A ที่เริ่มส่งได้รับ alarm เป็น RDI จะ switch เส้นทางการส่งให้ใช้เส้นทางสำรองแทน (switch traffic) โดยอาจเป็นเส้นทางวงใน เป็นต้น ดังนั้นเราต้องมี optic fiber ค่อนข้างหลายเส้นหน่อยเพื่อป้องกันสายขาดจึงต้องมีเส้นสำรองเป็นเส้น working 1เส้น และเส้น protection อีก 1 เส้น

STM-1 เมื่อผ่านการ multiplex อีก จะได้ STM-4 (ทีละ4) (เหมือน AUG 4ก้อน รวมกัน) จึงมีความเร็ว 155Mbps x 4 = 622 Mbps

>>>STM-1>>>155Mbps

>>>STM-4>>>622Mbps

>>>STM-16>>>2.5Gbps

>>>STM-32>>>10Gbps

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2551

3G

9 เมษายน 2551 : Mix

วันนี้ก็เป็นเหมือนวันปกติที่ผ่านมาแต่ไม่รู้ว่าทำไมก่อน 10โมงนี่ ง๊วง...ง่วง จะหลับซะให้ได้เชียว ตอนบ่ายนี่ยังไม่เท่าไร 555

วันนี้มีติวเตอร์ทั้งหมด 3 คนด้วยกัน เรียนหลายเรื่อง แต่ไม่รู้เรื่องซักเรื่อง ..555..(ล้อเล่นนะคะ)

ติวเตอร์คนแรก ...พี่ฟริ้น สอนเรื่อง "Job status"

ติวเตอร์คนที่2 ...พี่หนึ่ง สอนเรื่อง "Format ของ GSM Network"

ติวเตอร์คนที่3 ...พี่ซอส สอนเรื่อง "3G"

พี่ๆตั้งใจสอน ให้พวกเรามีความรู้เยอะๆขนาดนี้ แล้วสมองน้อยๆของพวกหนูจะเก็บกันหมดมั้ยละคะเนี่ย อิอิอิ
เอ้าๆ เข้าเรื่องเลยแล้วกัน


  • Job Status
    เริ่มตั้งแต่เมื่อ NMC เห็น Alarm(CFMS) ออกใบJob ให้ MTN ทำการแก้ไขซ่อมบำรุง โดยใน JB จะต้องมี Tittle, Task Des, Assign by , Assign to ...โดยในแต่ละ Job จะมี Status เพื่อแสดงสถานะของ Job นั้นๆ ซึ่งปกติจะมี Job Priority เป็นตัวกำหนดความสำคัญของงาน มี SLA (Service Level Agreement) เป็นขอบเขตและเป้าหมาย และจะนำค่า SLA ไปตีเป็นค่า KPI (Key Performance Index) เป็นตัววัดศักยภาพของคนในการทำงาน (ใช้คิดโบนัส)
สถานะของ JB
- ต้องมี 1 status ของ Job ที่บอกว่ากำลังมีคนเข้าไปทำงานที่ site นี้อยู่
- ซ่อมหาย จะมีสถานะ Job 1 status
- ซ่อมไม่เสร็จ (ยังปิด job ไม่ได้) >>>1) รอของ 2)รอปรึกษาleader 3)case ยากมาก
- MTN สามารถโอนงานให้คนอื่นได้

  • Format ของ GSM Network
E164 :
MSISDN (Mobile Subscriber Integrated Service Digital Network) = CC+NDC+SN :โดย CC คือ รหัสประเทศ (ประเทศไทย 66) ,NDC แบ่งตาม operator ,SN รายเบอร์ต่างกันไป


E212 :
IMSI (International Mobile Subscriber Identity) IMSI = MCC + MNC + MSIN :เป็นข้อมูลที่อยู่ใน SIM (ประเทศไทยขึ้นต้นด้วย 520) โดย MCC คือ รหัสประเทศ , MNC แบ่งตาม operator , MSIN เป็นรหัสที่ไม่ซ้ำกันเลย

>>> หลักๆก็จะดู MCC ว่าอยู่ประเทศอะไร และ MNC ว่าอยู่ operator อะไร

ประโยชน์ :ในการทำ Location update ครั้งแรก จะมีการส่งค่านี้ไปที่สถานีฐานเพื่อประมวลผลและวิ่งไปหา HLR เพื่อตรวจสอบว่ามีเบอร์นี้อยู่รึป่าว ถ้ามีก็จะทำการ Location update ได้ แต่ถ้า IMSI นี้ไม่อยู่ใน operator นั้นจะทำ Location update ไม่ได้ และเมื่อ IMSI วิ่งไปหา HLR เรียบร้อยแล้วจะส่ง TIMSI กลับมา

IMEI (International Mobile Equipment Identity) = TAC + FAC + SNR + SVN : เป็นรหัสของเครื่องมือถือ โดย TAC คือ Type Allocation Code ,FAC คือโรงงานที่ผลิต ,SNR คือ Serial number , SVN คือ Software Version Number เป็นต้น ถ้าอยากรู้ว่ามือถือเรา IMEI อะไรก็ลองกด *#06# ดูก็ได้นะจ๊ะ

  • 3G

>>ที่มาของ 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G เป็นเทคโนโลยีของยุคที่ถัดมาจาก 2G ซึ่งมีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน คือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง จากการแข่งขันอย่างรุนแรงแทบทุกประเทศและปรากฎการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง จึงมีการสร้างบริการไร้สายรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการต่อไป เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น

1G : เป็น Analog , ไม่สามารถใช้ร่วมกันในต่างระบบได้
2G : แก้ปัญหาต่างระบบ ต่างพื้นที่ให้ใช้งานร่วมกันได้
3G : ไม่ว่าระบบไหนก็ใช้ร่วมกันได้ถ้าเป็นมาตรฐาน 3G เหมือนกันจะใช้เหมือนกันได้หมดเลย , ใช้ service ของ AIS ยังไงถ้าเปลี่ยนไปใช้ operator อื่นก็จะใช้ service เดิมอยู่ , เน้น 1.internet 2.telecom service 3. information

GSM : Bandwidth ของ GSM อยู่ที่ 200 kHz ความเร็วในการส่งข้อมูลในอากาศ 270 symbol/sec

3G : Wideband CDMA Bandwidth 5 MHz (ทำให้รองรับผู้ใช้งานได้เยอะขึ้น) ความเร็วในการส่งข้อมูลในอากาศ 3.84 Mc/sec

Data rates : ในระบบ GSM 9.6 kbps , EDGE 384 kbps ต้องอยู่นิ่งกับที่, UMTS Vehicular 144 kbps เคลื่อนที่ได้ในความเร็วที่จำกัด , Pedesstrian 384 kbps , Indoor 2 Mbps

ในระบบ 3G ใช้เทคโนโลยี FDD ความถี่ up link 1.92-1.98 GHz และความถี่ down link 2.1-2.17 GHz ร่วมกับเทคโนโลยี TDD ใช้แค่ความถี่เดียว แต่ใช้การแบ่งเวลาเอา ความถี่ที่ใช้ประมาณ 2.1 GHz

ADSL , VDSL , ADSL ture plus รวมๆกันเรียก xDSL ใช้งานโทรศัพท์พร้อมกับ Data ความเร็วในการ Download และ Upload จะไม่เท่ากัน โดยความเร็วในการใช้งานจะขึ้นอยู่กับระยะทาง (บ้านเราอยู่ในพื้นที่บริการรึป่าว?) และคุณภาพสาย (ทองแดง ไม่ใช่ Fiber ) ดังนั้นถ้าเราต้องการติดตั้ง internet ที่ต้องการความเร็วมากกว่าปกติ จะต้องถามให้แน่ใจก่อนว่า ชุมสายอยู่ที่ไหน??

ในระบบ 3G มีการเรียกชื่ออุปกรณ์ที่เปลี่ยนไปจากระบบ GSM เช่น BSS จะถูกเรียกเป็น RAN (Radio Access Network) คือการ access network ต่างๆจะใช้มาตรฐานเดียวกัน , NSS จะถูกเรียกเป็น CN (Core network) , BTS จะถูกเรียกเป็น Node B

Release 99 >> ตัวแรกที่เป็น 3G เปลี่ยนจาก TDMA เป็น CDMA >> BSC + PCU กลายเป็น RNC
Release 4 >> 3G phase 2 >> พูดถึง GSM 700 MHz >> เริ่มเปลี่ยนแปลง Core network
Release 5 >> Ideal


Frequency re-use pattern : ในระบบ GSM การใช้งานจะใช้หลายๆความถี่ใน โดยที่ขอบเซลล์ตอนที่กำลังจะข้ามเซลล์สัญญาณอาจมี power ต่ำลง เมื่อเปลี่ยนจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่งความถี่ที่ใช้งานก็จะเปลี่ยนไป ส่วนในระบบแบบ CDMA จะมีการใช้งานที่ความถี่เดียวโดยใช้การเข้ารหัสแทน

Basic Cellular System :

CAPEX >> ค่าใช้จ่ายในการลงทุน
OPEX >> ค่าใช้จ่ายในการ operation


Fixed Line>> รองรับแค่ voice อย่างเดียว

PSTN(Public Switching Telephone Network) : PSTN เดิม (voice อย่างเดียว) ไม่สามารถรองรับความต้องการใช้งานแบบ Non-voice ที่มากขึ้นได้ จึงต้องมีการออกแบบให้รองรับการใช้งานได้โดยมี 2 ทางเลือก คือ

1) เปลี่ยนเป็น IP ......(ไม่เวริ์ค)

2) ปรับปรุงโครงข่ายเดิม >>> soft switch


Cell Splitting :


ในพื้นที่ที่มีการใช้บริการหนาแน่น หรือมีอุปกรณ์การสื่อสารจำนวนมาก เซลล์ปกติรองรับการใช้เครือข่ายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงต้องมีการ split ความถี่ โดยมีการลดพื้นที่ของเซลล์ลงและสามารถรองรับคนได้เท่าเดิม จึงจะเพียงพอต่อความต้องการใช้งานเครือข่าย



Wow.. วันนี้ความรู้แน่นจิง....หลับๆตื่นๆ ตื่นๆ หลับๆ......555

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551

GSM Network#2


8 เมษายน 2551 : Switching

ในส่วนของ Switching นั้นจะเป็นการจัดการเส้นทางในการส่งข้อมูล ซึ่งจะมี signaling มาเกี่ยวข้องจากความเดิมตอนที่แล้วอธิบายเรื่อง time slot ของAir interface และ Abis interface ไปแล้วน่าจะพอนึกภาพออกว่าใน1TDM ของ Air interface มี 8 Time slot(TS) โดยมีความเร็วTSละ 16kbps และ E1 ของ Abis interface มี 32 Time slot โดยมีความเร็วTSละ 64 kbps ดังนั้น E1มีความเร็วเป็น 64kbps x 32 = 2Mbps

ส่วน signaling เป็นสัญญาณที่ใช้ในการควบคุมการส่งข่าวสารจากต้นทางไปยังปลายทาง ในอดีตกำหนดไว้ที่ TS ที่ 16 เรียก CAS แต่ปัจจุบันไม่กำหนดตายตัว signaling จะถูกกำหนดไว้ที่ TS ใดก็ได้ ยกเว้น TS0 เนื่องจากกำหนดให้เป็น Aligment ซึ่งใช้ในการ synchronous ในการส่งข้อมูลโดยหน้าที่ของ Signaling หลักๆมี 2 อย่าง คือ Mobility Management และ Routing

SPC(Signaling Point Code) เป็นรหัสที่ใช้ระบุอุปกรณ์ต้นทางและปลายทาง หรืออุปกรณ์ในโครงข่าย (NE:network element) โดย OPC (Originating Point Code) คือรหัสอุปกรณ์ต้นทาง และDPC (Destination Point Code) คือรหัสอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งเส้นทางในการส่งข้อมูลเรียกว่า SL (Signaling Link) หลายๆ SL รวมกันเป็น SLS (Signaling Link Set) โดยมีเงื่อนไขว่าจาก point code ไปยังอีก point code หนึ่งจะต้องมี SL ได้มากสุด 16 SL ซึ่งจำนวนของ SL จะขึ้นอยู่กับ Traffic ของ Link นั้นๆ แต่ถ้าต้องการใช้งานมากกว่า 16 SL จะต้องทำการ config point code เพิ่มเข้าไปใน node เดิม (2point codeใน 1node) เรียกว่า Multi-point code จะใช้มากในกรณีที่ต่อไปต่าง Operator


การทำให้ Traffic เชื่อมกัน โดย T-S (Time Space) เป็นการใช้ digital มาช่วยทำการ copy ข้อมูลเช่น traffic เข้าขา1 ให้ไปออกที่ขาที่ต้องการ ทำให้ไม่ต้องรอเวลา

TSM (Time Switch Module) ต้องรอเวลาเพื่อเลือก TS

SPM (Space Module) การเคลื่อนย้าย หรือ การเคลื่อนตำแหน่งของ traffic

โดย Traffic จะแบ่งเป็น Signaling Link และ Trunk

HLR มีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง MSC 2 ตัว เมื่อ MSC 2 ตัว คุยกันได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องคุยผ่าน HLR
MSRN ขอเลขเพื่อใช้ในการคุยกันระหว่าง MSC
FE (Front End) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมระหว่าง 2 network เข้าด้วยกันเพื่อให้ Traffic จาก core network คุยกับอุปกรณ์ VAS ได้ เพราะ อุปกรณ์ core network กับอุปกรณ์ VAS คุยกันคนละภาษา ^ ^"
STP (Signaling Transfer Point) เป็นตัวเลือกว่า Signaling จะวิ่งไปเส้นทางไหนจึงจะถึงเร็วที่สุด
RG เป็นตัวเชื่อมจาก region นึง ไปอีก region นึง
[ps. หลับๆ ตื่นๆ ก็จดๆ ฟังๆ มั่วๆ รู้เรื่อง มาได้แค่นี้ล่ะเจ้าค่ะ คราวหน้าจะรีบนอนแต่หัววันนะเจ้าคะ ^ ^" ]

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

เข้าค่าย 3 วัน 2 คืน

4-6 เมษายน 2551 : เข้าค่ายที่กาญจนบุรี

Growing with AIS #8 หรือเรียกสั้นๆว่า GA8 งานนี้พี่ๆ AIS พาเที่ยวแม่น้ำแควน้อย แถมมีกิจกรรมสนุกๆเพิ่มความสัมพันธ์ต่อกัน และทำให้ได้เพื่อนใหม่เยอะแยะมากมายเลย ทั้งแข่งกีฬาสี เชียร์ลีดเดอร์ Walk rally ละลายพฤติกรรม ผูกข้อมือ แสดงละคร และเกมส์ต่างๆให้ร่วมสนุกๆเยอะแยะ กิจกรรมเยอะจนบรรยายไม่ถูกเอารูปมาให้ดูกันเองแล้วกัน




























แล้วจะเอารูปมาลงไว้ให้ดูเยอะๆนะจ๊ะ โฮ่ะๆ..

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551

GSM Network

3 เมษายน 2551 : มีเพื่อนใหม่ 1 คน

วันนี้ฝึกงานเป็นวันที่ 3 แล้ว รู้สึกง่วงจริงๆเลย จากเคยนอนตี2 ตี3 ต้องรีบนอนห้ามเกินเที่ยงคืน เคยตื่นเที่ยง ต้องตื่น 6 โมงตรงเด๊ะๆๆๆ แล้วก็ต้องฝ่าฝันกับรถที่ติดแหงกๆๆๆ อีก เริ่มคิดถึงตอนเปิดเทอมขึ้นมานิดนึงแล้วสิ อิอิ ^o^

วันนี้มีเพื่อนใหม่จากลาดกระบังมาฝึกที่แผนกเพิ่มอีก 1 คน ชื่อว่า โด่ง อยู่ภาคคอม แต่ไม่เคยเจอกันเลย - -"

วันนี้พี่ฟิ้นสอนเรื่อง "GSM Network"


>>Air interface : ระหว่าง mobile กับ antenna
>>Abis interface : สายที่ลากจาก BTS ไป BSC เป็นสาย Fiber
>>Ater interface : สายจาก BSC ไป TRAU หรือจาก MSC ไป TRAU

BSS (Base Station Subsystem) เป็นส่วนของ Radio
NSS (Network Switching Subsystem) เป็นส่วนของ Switching
  • Air Interface
    เป็นช่องทางจาก MS (Mobile station) ไป Antenna ในระบบ GSM ใช้การ Multiplex แบบ TDMA ร่วมกับเทคโนโลยี FDMA ช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานในแต่ละช่วงเรียกว่า TS (Time Slot)


Logical Channel


1) BCH ( Broadcast Channel) จะทำการใส่หน้าที่ให้แต่ละ TS จะมี UL&DL ประกอบไปด้วย

1.1) FCCH ( Frequency Corrective)หาความถี่ที่คุย SCH ( Synchronization)

1.2) CCCH ( Common Control Channel) เปรียบเหมือนนาฬิกาให้จังหวะให้ตรงกับ TS

1.3) BCCH ( Broadcast control) เป็นที่ระบุให้รู้ว่าโทรศัพท์ใช้งานไหนอยู่และทำอะไรบ้าง ประกอบไปด้วย Cell ID, ARFCN, and Options ซึ่งรวมเรียกว่า System Information

2) CCCH ( Common Control Channel) ใช้ในการ setup call ประกอบไปด้วย

2.1) PCH ( Paging) ใช้ในการติดต่อกับเบอร์ปลายทาง

2.2) AGCH ( Access Grant) ใช้ในการแสดงผลของการร้องขอสัญญาณจาก RACH

2.3) RACH ( Random Grant) ใช้ในการร้องขอสัญญาณซึ่งมนกระบวนการ setup ก็จะมี MTC ( Mobile Terminating Call ) คือกระบวนการ setup call ของฝั่งผู้รับ MOC (Mobile Originating Call ) คือกระบวนการ setup call ของฝั่งผู้โทร

3) DCH ( Dedicated Channel) แบ่งออกเป็น

3.1) SDCCH ( Stand alone Dedicated) จะทำหน้าที่เป็น call setup โดยตรง และ เกี่ยวกับ SMS and LOC-UP ( Location Update)

3.2) SACCH ( Slow Associated Control) Measurement Report ประกอบไปด้วย Pathloss และ RxLevel

3.3) FACCH ( Fast Associated Control) H/O (MS active)3.4) CBCH ( Cell Broadcast)

4) TCH ( Traffic Channel) คือ ช่องสัญญาณที่จะคุย จะเป็นลักษณะของ voice+data จะแบ่งเป็น

4.1) FR ( Full Rate) 16 kbps

4.2) HR ( Half Rate) 8kbps

ใน 1 TS จุได้ 16 k maximum แต่ถ้าคนคุยเยอะก็อาจจะแบ่ง TS ของ FR เป็น HR จะทำเฉพาะในส่วนของ voice คุณภาพก็จะต่ำลงแต่ก็ยังสามารถที่จะคุยรู้เรื่อง ถ้าเป็นส่วนของ data จะส่งเป็น FR เท่านั้น

กระบวนการที่โทรศัพท์เครื่องหนึ่งติดต่อกับโทรศัพท์อีกเครื่องอธิบายง่ายๆ ได้ว่า เมื่อมีความต้องการใช้งานจากเครื่อง A โทรไปยังเครื่อง B ส่วนของ RACH จะมีการร้องขอไปยัง BS จากนั้นจะมี AGCH ตอบรับหรือปฎิเสธกลับมา ถ้าเป็นการตอบรับ จะมีการระบุ TS ด้วย BS จะทำการติดต่อกับโทรศัพท์เครื่อง B ด้วย PCH และร้องขอใช้ช่องสัญญาณด้วย RACH จากนั้นด้าน B จะตอบรับหรือปฎิเสธการใช้ช่องสัญญาณด้วย AGCH หากทั้งสองฝ่ายตอบรับตรงกันก็สามารถใช้ TCH (Traffic channel) คือสามารถติดต่อหากันได้ ซึ่ง RACH จะทำหน้าที่ set up เพื่อให้ได้ SDCCH และSDCCH จะทำหน้าที่ set up เพื่อให้ได้ TCH นั่นเอง^ ^" (ประมาณนี้แหละมั้ง)

Time Slot ของ Air interface : 8TS=1TDM ที่ใช้ความถี่เดียวกัน ดังนั้นถ้าจะสร้างอีก 8 TS หรือ 8 คู่สัญญาณ ต้องสร้างที่อีกความถี่หนึ่ง ซึ่งความถี่หนึ่งๆที่ใช้เรียกเป็น 1 TRX ซึ่งรองรับได้ 8 คู่สัญญาณนั่นเอง

ใน Cell หนึ่งๆอาจใช้ได้หลายความถี่ หลายๆ Cell ประกอบรวมเป็น Site แต่ละ Site จะถูกตั้งชื่อตามพื้นที่เป็น Code 4 หลัก เช่น Site(ABAC) เป็นต้น และแต่ละ Cell ใน Site นั้นๆ ก็จะถูกเรียกชื่อตามชื่อ Site เช่น Cell1 ชื่อ ABAC1 , Cell2 ชื่อ ABAC2 , Cell3 ชื่อ ABAC3 เป็นต้น ที่สำคัญที่สุดในแต่ละครั้งที่เกิด Alarm ขึ้นจะบ่งบอกว่าเกิดที่ BSC อะไร Cell ไหน และ Site ไหน ด้วย

>> ARFCN (Absolute Radio Frequency Channel Number) คือความถี่ในการใช้งานแต่ละ cell ซึ่งในระบบ GSM900 กำหนด Bandwidth แต่ละช่องสัญญาณ 200kHz และความถี่ Up link กับความถี่ Down link จะใช้ความถี่ต่างกัน โดยความถี่ Down link จะมากกว่าความถี่ Up link เพราะตัวมือถือสามารถส่ง Power ได้น้อย Up link ซึ่งมีความถี่น้อยกว่าจึงสามารถส่งได้ระยะทางไกลกว่าทดแทน ส่วน Down link มีความถี่มากกว่า ส่งได้ระยะทางใกล้เนื่องจากสามารถเพิ่ม Power ที่ส่งจาก Antenna ได้

ARFCN แบ่งออกเป็น ULและ DL ระหว่าง UL กับ DL จะเว้นห่างกันประมาณ 3 TS เพื่อให้ประมวลผล ใน 1 TS ใช้เวลาประมาณ 557 ไมโครวินาที ARFCN 1-124 มีความห่างของช่องสัญญาณ 200 kHz ความถี่ของ UL และ DL จะต้องตรงกันทุกครั้ง ความถี่ของ UL คือ 890-915 MHz ส่วนของ DL จะอยู่ที่ 935-960 MHz

HSN ( Hopping Sequence Number) จะอยู่ในตู้ของ BTS เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนความถี่กัน โดยการ share ความถี่กันไปมาเพื่อหาความถี่ที่ดีที่สุด

  • Abis Interface
Abis interface เรียกเป็นสาย E1 ซึ่งประกอบด้วย 32 TS และมีความเร็ว TS ละ 64 kbps โดยจะกำหนดให้ TS0 ของ Abis interface เป็น Alignment ใช้ในการ synchronous โดยเมื่อก่อน Signaling จะถูกกำหนดให้อยู่ใน TS16 เรียก CAS แต่ในปัจจุบันไม่มีการกำหนดแล้ว Signaling จะอยู่ใน TS ใดๆก็ได้

>>TRAUทำหน้าที่ Compress (บีบอัด)หรือ Depress(ขยาย)

>>BTS ต้องยี่ห้อเดียวกับ BSC แต่ BSC ไปถึง MSC จะเป็นมาตรฐานสากลใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้

ไปเที่ยวชุมสาย

2 เมษายน 2551 :ไปเที่ยวชุมสาย

วันนี้พี่ๆจะพาไปเที่ยวชุมสายแถวแจ้งวัฒนะ พี่หนึ่งนัด8โมง มาถึง 8 โมงเกือบครึ่งแหน่ะ -*-
งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำในวันนี้ก็คือ จด label ของตู้ rack และ ตรวจ check ข้อมูลของ access card ว่าข้อมูลตรงกันหรือไม่และถูกต้องหรือไม่

ส่วนความรู้นั้นจับความไม่ค่อยได้เนื่องจากตื่นเต้นเพิ่งเคยเห็นของจริงเป็นครั้งแรก เลยเอาแต่ดูลูกเดียวไม่ได้จดอารายมาเร้ยยยย... ^ ^"

รู้แต่ว่าอุปกรณ์ทางโทรคมนาคมจะใช้ไฟ DC ซึ่งเป็นไฟลบ เหตุผลก็เพราะ ต้องการลดสัญญาณ Noise และป้องกันการเกิดสนิมในตัวอุปกรณ์ นั่นเอง ^o^

ฝึกงานกับ AIS

1 เมษายน 2551 : วันแรกของการฝึกงาน

วันนี้เป็นวันแรกที่ต้องมาฝึกงานที่ AIS ตึก ชินวัตร2 ชั้น9 บรรยากาศสนุกสนานเฮฮา พี่ๆทุกคนดูใจดีและเป็นมิตร มีเพื่อนที่มาฝึกแผนกเดียวกันอีก3คน ก็คือ หนึ่ง เขอ เม่ย


แผนกที่ต้องมาฝึกงานคือแผนก NOC ย่อมาจาก NationWire Operation Center ประกอบไปด้วย 6 ฝ่าย

- SYS (system supervision)
- SMC (Service management center)
- ECS (Enterprise and CP Supervision)
- NAM (Network Analysis Management)
- CFM (Configuration Management)
- COTs (Corporate Technical Support)

แต่ละฝ่ายก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น


ฝ่าย SYS จะทำหน้าที่แก้ไขระบบ และจะเป็นคนแรกที่เห็น Alarm ในฝ่าย SYS ก็จะแบ่งเป็น
- Core Network : แบ่งโหนดตามภาค 5 ภาค ส่วนกรุงเทพจะกระจายไปทุกๆโหนด
พี่ๆที่ทำงานตรงส่วนนี้จะทำงานกันเป็นกะ วันนึงมี 3 กะ


- VAS : เป็นบริการนอกเหนือจาก vioce ทั้งหมด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เช่น SMS MMS GPRS

>>รวมๆแล้ว ก็จะนับคนทำงานเข้ากะได้ทั้งหมด 32 คน (รวม Chip Lead ด้วย) *o*

จะมีการจัดระดับความรุนแรงของ Alarm เรียกว่า Severity มี 4 ระดับ คือ
- Critical
- Major
- Minor
- Warning

และมีการกำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขระบบ เรียกว่า SLA เช่น Critical ต้องแก้ไขภายใน 3 ชั่วโมง, Major ต้องแก้ไข ภายใน 10 ชั่วโมง, Minor ต้องแก้ไขภายใน 3 วัน ประมาณนี้

CFMS ย่อมาจาก Centralize Fault Management System :
เป็น software ที่ถูกพัฒนาให้สามารถรวมการใช้งานอุปกรณ์ของหลาย supplier มาใช้รวมกันที่เดียวได้ ในกรณีใช้อุปกรณ์ของหลายบริษัท


TTS ย่อมาจาก (Troble Ticket System) เป็นเหมือนใบงานที่กำหนดการแก้ไขระบบในกรณีต่างๆเอาไว้


เพื่อให้เห็นการทำงานของแผนกนี้ได้ชัดเจนขึ้นพี่ๆจึงอธิบายด้วยการ์ตูนแอนิเมชั่นสั้นๆ จะเล่าให้ฟังง่ายๆละกันสมมติว่า เรากำลังโทรศัพท์อยู่แล้วเกิดสายหลุดไปดื้อๆด้วยสาเหตุอารายก็ไม่รู้ ซึ่งอาจเกิดจากมีความผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้นกับระบบอยู่ เราก็จะโทรมาบ่นที่ Call Center จะเกิด Alarm แสดงเตือนว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น พี่ๆที่มีหน้าที่รับผิดชอบตรงส่วนนี้ก็จะต้องทำการแก้ไข หรืออาจติดต่อแจ้งไปให้ผู้แก้ไขโดยการสร้างใบ job ขึ้นและส่งไปยังผู้รับผิดชอบ เมื่อข้อผิดพลาดนั้นถูกแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ทาง Call Center ก็จะโทรกลับมาบอกว่าแก้ไขเรียบร้อยแล้ว Alarm ก็จะหายไป ทำให้เราใช้ระบบได้ตามปกติไงล่ะ ^o^