วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551

Photoshop

28 เมษายน 2551 :
วันนี้ก็ได้เรียน photoshop อีกแว้ว ^o^ ......(จะได้เอาไว้ใช้ประโยชน์ใน hi5 ซะที 555+) วันนี้ก็เรียนเครื่องมือต่อจากคราวที่แล้วนั่นเอง...ก่อนอื่นเรามาทบกวนกันก่อนเลย

Patch Tool : เอาสีตรงส่วนอื่นมาแทนที่โดยเลือกส่วนที่เป็น source และส่วนที่เป็น destination
Healing brush Tool : ทำให้ดูเนียน
Color Replacement Tool : ระบายสีส่วนเดิมให้เป็นสีใหม่ โดยความเข้มของสียังคงเหมือนเดิม
Clone stamp Tool : คัดลอกพื้นที่ข้างเคียง
Eraser Tool : ยางลบ สามารถปรับ flow ทำให้ลบอ่อนๆหรือลบเข้มๆ ได้
Gradient Tool : ไล่สีจาก front ground ไป back ground

ทบทวนคร่าวๆไปแล้วก็ไปเรียนตัวต่อไปกันเลย...

Blur Tool : ทำเบลอ

Sharpen Tool : ใช้แต่งขอบของวัตถุให้ชัด

Smudge Tool : เกลี่ยสี

Dodge Tool : ทำให้สว่าง โดยเลือกรูปแบบที่ range ประกอบด้วยmidtones,shodows,highlights

Burn Tool : ทำให้สีเข้มขึ้น

Sponge Tool : เลือก saturate ทำให้สีดูอิ่ม , เลือก desaturate ดูดสีให้จาง

Type Tool : พิมพ์ตัวอักษร พิมพ์เสร็จ Ctrl+enter เลือกได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง

Path selection Tool : เลือก path อิสระ ทำให้เส้นโค้งได้โดยการ click ขวา + selection ใช้ทำรูปทรงอิสระ (จะให้วัตถุ2อย่างเคลื่อนที่พร้อมกันเลือกเครื่องมือ link (ลูกโซ่)(deselection=ctrl+d))

Drag control point : จัดการเส้น path โดยตรง

Note : เป็นเครื่องมือที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวภาพ เหมือนเป็น note เกี่ยวกับตัวภาพทิ้งไว้เฉยๆ

filter>>>liquify>>>ทำให้ภาพใหญ่ขึ้นเป็นจุด,ขย้ำให้เล็กลง,ทำให้ภาพบิด,ทำให้แหลม ได้ด้วย >>>ลองเล่นดู ^o^

25 เม.ย.

25 เมษายน 2551

24 เม.ย.

24 เมษายน 2551

SMC #1

23 เมษายน 2551 : SMC #1


วันนี้เป็นวันแรกที่จะได้ไปเรียนรู้แผนก SMC อย่างใกล้ชิด พี่ๆที่แผนกนี้เป็นที่รู้กันว่าฮามั่กๆ วันนี้พี่เอก็มาสอน service ต่างๆ ,การทำ location update แล้วก็สอนให้ดู command ต่างๆ นิดหน่อย

Location Update : เพื่อให้ระบบรู้ว่ามีเบอร์นี้อยู่ในระบบ เหมือนเป็นการรายงานตัวว่าไม่ใช่ซิมเถื่อนนะ แล้วก็รายงานที่อยู่ว่าอยู่ที่ไหน

IMSI อยู่ที่ SIM (1SIM จะมี 1 IMSI) ส่วน IMEI อยู่ที่เครื่อง

เมื่อ A number ต้องการโทรไปหา B number จะมีการติดต่อจาก base>>>> MSC โดยมือถือ A โทรหามือถือ B จะส่ง IMSI 15 หลักไป ซึ่ง IMSI จะเป็น Standard ทั่วโลก

3 ตัวแรก = mobile country code

2 ตัวต่อมา = mobile network code เช่น 01 เป็นของ AIS , 23 เป็นของ GSM 1800

ที่เหลือ = แล้วแต่ละ operator




เราสามารถดู profile ลูกค้า ได้จาก MSC เช่น

NAM 0 แปลว่า สามารถเล่น GPRS ได้ (แล้วแต่ประเทศอีกแหละ)

CFU-1 แปลว่า ให้โอนสายทุกกรณี

OBO-1 แปลว่า ลูกค้าไม่จ่ายค่าบริการ เลยโดนบาร์ไม่ให้โทรออก

BAIC แปลว่า บาร์รับสายทุกกรณี (ลูกค้าสามารถทำเองได้)

OBO-4 แปลว่า 1-2-call

BOIC แปลว่า บาร์โอนสายออกต่างประเทศ

CAW Active แปลว่า รับสายซ้อนได้

การใช้งาน (รายงานตัว) : เปิด-ปิดเครื่อง เบอร์จะวิ่งมาที่ HLR ก่อน (HLR ที่ได้ทำการเปิดไว้) แล้วจะวิ่งกลับไปที่ MSC ที่ใช้บริการอยู่ เช่น เปิด HLR ที่สุขา 3 ไปโทรที่เชียงใหม่ ก็ต้องวิ่งมาที่สุขา 3 ก่อน แล้วกลับไป MSC ที่เชียงใหม่ โดยจะมี VLR address เป็นเหมือนเบอร์ GT บอกว่าเราอยู่ที่ไหนตอนนี้ และ SGSN number บอกว่าลูกค้าจับ node ไหนอยู่

เบอร์นี้ใช้ service อะไรได้บ้าง? : เช่น TS20 = SMS , TS60 = ส่งFAX , BS20 = Data service

สถานะเครื่อง : เช่น DET ปิดเครื่อง , IDLE เปิดเครื่อง(พร้อมรับสาย) ,BUSY ใช้งานอยู่ โดยถ้าลูกค้ามีการปิดเครื่องนานๆ ทางระบบจะ clear ข้อมูลของลูกค้าโดยอัตโนมัติ

Presentation NOC

22 เมษายน 2551 : Presentation NOC

ก่อนไปทัศนศึกษาก็ต้องเรียนกันก่อน ตอนเช้าก็เรียนเกี่ยวกับ... AIS Mobile Network
  • Core network

วงกลมสีน้ำเงิน>>> เป็นแบบ PS : Packet Switch
วงกลมสีม่วง>>> เป็นแบบ CS : Circuit Switch


BTS ย่อมาจาก Base Transceiver Station
GMSC : เป็น gateway เอาไว้เชื่อมต่อกับ operator อื่นๆ
HLR : เป็น data base ไว้เก็บฐานข้อมูลลูกค้า
VLR : เป็น data base ไว้เก็บฐานข้อมูลลูกค้า
SGSN : Serving GPRS Support Node
GGSN : Gateway GPRS Support Node



อาจเป็นการใช้บริการโทรศัพท์ หรือ อินเตอร์เน็ต ก็ได้

  • VAS :บริการ VAS เป็นบริการเสริม

GSM : IVR (หมอดู,ผลบอล) ,SMS(short message,ส่งโปรแกรม,ส่งdata),USSD(บริการที่ขึ้นต้นด้วย * ลงท้ายด้วย #),VMS(Voice mail system,ดารารับสายแทน),VOICD(จำพวก voice mail แต่จะให้ฟังเพลงแทน),RBT(Ring back tone,calling melody)

GPRS : MMS(ส่งภาพ,เสียง,ภาพเคลื่อนไหว+text),WAP(web บนมือถือ,WML,HTM,HTML),PTT(ไม่ได้เปิดให้บริการเนื่องจากเอาไว้ใช้ภายในเท่านั้น)

Note : sms 1 short message ส่งได้สูงสุด 160 ตัวอักษร (ภาษาอังกฤษ) หรือ 80 ตัวอักษร (ภาษาไทย) แต่มือถือรุ่นใหม่ๆจะแบ่ง message ยาวๆ ส่งไปประกอบที่ปลายทางเอง , MMS จะ limit size ที่ตัวเครื่องมือถือ ปกติไม่เกิน 300 kB โทรศัพท์กล้อง 5 ล้าน ถ่ายรูปละ 1MB เวลาส่งมันจะ resize ให้เองเลย เพื่อให้มีขนาดพอดีที่จะส่งไปได้

  • IN network (Intelligent network)

เป็นระบบดูแลลูกค้า 1-2-call จำนวน 23 ล้านคน (ลูกค้า AIS 25 ล้านคน เป็น 1-2-call 23 ล้านคน เป็น GSM 2 ล้านคน)

ก่อนที่ A number จะโทรหา B number ได้ จะต้องมีการตรวจสอบยอดเงินคงเหลือของลูกค้า A number ก่อน ที่ IN network


  • AIS content interface

หากลูกค้าต้องการ download content โดยผ่าน content partner ที่ connect อยู่บน internet และเชื่อมต่อผ่าน VAS โดยจะมี CDG คั่นไว้ เหมือนเป็นก๊อกน้ำ CDG จะส่งคำขอไปถามตัว controller ทั้งหมด โดย Damoles เป็น data base ที่เป็น inmemory database ที่ AIS พัฒนาขึ้นเอง 100% (Damocles ไฟดับก็ล่มหมด เพราะทุกอย่าง run อยู่บน RAM สามารถ query ลูกค้าได้ 5,000 คน ต่อ วินาที ) ซึ่งถ้าลูกค้าเป็น 1-2-call ต้องไปตัดเงินที่ IN network ก่อน


  • Base station
ก่อนไปดูวีดีทัศน์แสดง base station แบบต่างๆ แต่ก่อนหน้านั้นมีเนื้อหาเล็กๆน้อยๆ มาให้คลายเครียดกันก่อน ^o^

>> รถ mobile มีหน้าที่ในการเพิ่มช่องสัญญาณชั่วคราว กรณีที่พื้นที่ใดๆต้องการใช้ช่องสัญญารที่มากเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่ที่มีการรับปริญญา เป็นต้น

>> สาย feeder ใช้ต่อขึ้นไปบนเสาไกด์ โดยจะใช้สลิงในการตรึงเสาไว้

>> แอร์มี 2 ตัว ทำงานสลับกัน ตัวละ 12 ชั่วโมง

>> แบตเตอรี่สำรอง สามารถสำรองไฟได้ถึง 3 ชั่วโมง


base station แบบต่างๆ
  1. เป็นตู้ BTS เล็กๆ การ์ด 1 ช่อง มี 8 ช่องสัญญาณ โดยตู้ใส่การ์ด 1 ตู้ ใส่การ์ดได้ 6 ช่อง คุยพร้อมกันได้ทั้งหมด 6 x 8 = 48 คน (หรือ 48 ช่องสัญญาณ)
  2. เป็นเสาแบบมีขาตั้ง 4 ด้าน ไม่ต้องใช้สลิงในการตรึง โดยตู้ base station ถ้าเป็นของ AIS จะมีฐานเป็นปูนซีเมนต์ เพื่อป้องกันน้ำท่วม
  3. เป็น micro radio base station ขนาดเล็กมากๆ 1 ตู้มี 16 ช่อง site เล็กมาก จึงมีกำลังส่งได้ไม่ไกล ใช้ในเมืองที่มีการใช้งานหนาแน่นเป็นหลัก เช่น สยามสแควร์ ราคาประมาณ 2แสนบาทต่อตู้
  4. site ศูนย์หนังสือจุฬา ติดตั้งยากมากกกกกกก...... มีข้อจำกัดมากมาย แถมแถวนั้นเป็นเขตกรุงเทพชั้นในห้ามใช้ microwave อีกด้วย จึงต้องใช้สาย feeder ที่ยาวมากกๆๆๆๆๆๆ (สาย feeder แพงมากๆๆๆ)



ช่วงบ่ายของวันนี้พวกเรามีภาระกิจอันใหญ่หลวงที่จะต้องแนะนำแผนก NOC ให้กับเพื่อนๆที่ฝึกงานสาย operation ร่วม 50 คน โดยช่วงเช้าจะมีการแนะนำแผนกจาก powerpoint (ของพี่ฟริ้น อิอิ) เล็กน้อย ก่อนที่จะพามาชมสถานที่จริงในช่วงบ่าย

พวกเราแบ่งกันเป็น 2 กลุ่มพาเพื่อนกลุ่มละ 25 คน เดินดูพี่ๆ NOC ทำงานกัน กลุ่มแรกจะมี นิ้ง หนึ่ง แล้วก็แหว๋ว พาเพื่อนๆ ดูแผนก NOC ที่ชั้น9ก่อน ส่วนกลุ่มสองจะมี เม่ย เขอ แล้วก็โด่ง พาเพื่อนๆดูชุมสายที่ชั้น8ก่อน หลังจากนั้น ทั้งสองกลุ่มก็สลับกันเยี่ยมชม

บรรยากาศวันนี้สนุกและเฮฮาสุดๆ พอทั้ง2กลุ่มสลับกันเรียบร้อย พวกเราและเพื่อนๆทั้งหมดก็พากันเดินไปที่ตึกพหลโยธินเพลส เพื่อเยี่ยมชม ACC หรือว่า Call center มีการเล่าการทำงานของพี่ๆที่ call center แล้วก็เล่นเกมส์ตอบคำถามกันนิดหน่อย ก็ปล่อยกลับบ้านกัน

คืนนี้นอนหลับสบายเลย เพราะเหนื่อยจิงๆ - -"

Trainning

21 เมษายน 2551 : Trainning

วันนี้มีการเทรนนักศึกษาฝึกงานสาย operation ทั้งหมดที่ตึกชินวัตร1 ชั้น19 ห้อง Auditorium ถ้าจะให้เล่าอย่างละเอียดทั้งหมดหน้านึงเห็นจะไม่พอ เอาแบบคร่าวๆละกัน (ไม่ใช่อารายหรอก พอดีหลับไปเป็นช่วงๆด้วยแหละ จดมาแต่เฉพาะช่วงที่ตื่นง่ะ 5555+)

Telecom Technology Group
  • Wired :

- xDSL เช่น ADSL (Asymmetric) ความเร็วสูงสุดที่เปิดให้บริการโดยทั่วไปคือ 4 Mbps การบริการจะขายตาม quality ไม่ได้ขายตามปริมาณการใช้งานเหมือน GSM

- Cable Modem

- FTTx เช่น FTTH เปลี่ยนจากสายทองแดงเป็นสาย fiber ความเร็วต่ำสุด 100 Mbps การใช้งานเช่น VDO on demand

  • Fixed Wireless : การใช้งานสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะจำกัด เช่น

- WiFi กำลังส่ง 0.1Watt ความถี่ 2.4 GHz ระยะทาง 50เมตร ใช้ได้ในพื้นที่จำกัดและไม่สามารถใช้งานข้าม access point ได้ จึงทำให้การใช้งานไม่ต่อเนื่องในบางโอกาสอาจมีรอยต่อบ้าง (WiFi เปลี่ยน access point ก็จะได้ IP ใหม่ แต่ mobile wireless ถึงเปลี่ยนaccess point ก็ยังคงใช้ IP เดิมอยู่

- WiMAX

- Bluetooth

- Zigbee เป็น wireless ประเภทหนึ่ง แต่มีความเร็วต่ำมาก เช่น ส่ง binary 0 เพื่อเปิดไฟ และ ส่ง binary 1 เพื่อปิดไฟ ราคาไม่แพง ใช้ microcontroller ในการควบคุม

  • Wireless Technologies :

Mobile>>GSM , GPRS , EDGE , 3G , UMIS , HSDPA ความถี่ 3.6 Mbps เหมือนเอา hi-speed internet มาไว้บนมือถือ

Fixed>> WiFi 802.11n ความเร็วประมาณ 100 Mbps ใช้เทคโนโลยี MIMO (multi input multi output)

WiMAX>> พัฒนาจาก WiFi มาตรฐาน 802.16 เทคโนโลยีล่าสุด 802.16e รองรับการเคลื่อนที่ ได้ระยะทางไกลถึง 3-4 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 10-75 Mbps

4G>> LTE(long Term Evolution) ความเร็วสูงกว่า 100 Mbps ขึ้นไป รองรับการเคลื่อนที่

เพิ่มเติมคำศัพท์ทางด้าน Network= LAN (ติดตัว) ,LAN(ตามตึก) ,MAN(cellular), WAN (ระบบมือถือต่างๆใช้ทั่วประเทศ)

WiMAX

เป็นเหมือน WiFi ใส่ยาโด๊ป ความถี่ใช้งาน 2-11 GHz และ 10-66 GHz เป็น public frequency ต้องขออนุญาตก่อน เช่นขอสัมปะทาน หรือ ไลเซนต์จาก กทช. ตอนนี้เมืองไทยกำลังอยู่ในช่วงทดลองอยู่ที่ความถี่ 2.5 GHz และ 3.5 GHz

  • LOS & NLOS

มือถือให้บริการในรูปแบบ NLOS ซึ่ง LOS สัญญาณจะดีกว่า NLOS มาก

- LOS : ความเร็ว 75 Mbps ได้ระยะทาง 50 กิโลเมตร

- NLOS : ความเร็ว 10 Mbps ได้ระยะทาง 4 กิโลเมตร

ผู้สนับสนุนเทคโนโลยี WiMAX อย่างเป็นทางการ คือ Samsung , intel , Motorola (Nokia สนับสนุนอยู่ห่างๆ) รวมทั้ง Operator Sprint

ลักษณะใช้งานเหมือน ADSL แต่เป็นแบบไร้สายจึงแก้ปัญหาความต้องการใช้งานนอกพื้นที่บริการ เพียงแค่ตั้งเสาอากาศกับ modem หรือจะใช้แบบ LOS ก็ได้ คือ รับจากสถานีฐานมาด้วย WiMAX แล้วปล่อยต่อในอาคาร อพาร์ตเมนต์ หรือ บ้าน ด้วย WiFi

  • ประโยชน์

- bandwidth สูง , อาจใช้รายงานการจราจร หรือ รายงานคนป่วยได้ , กล้องดูขโมย และ เป็น wireless internet ในบ้านได้

ปัจจุบัน กทช. ออกไลเซนน์ ให้หน่วยงานทำการทดลองเรื่อง WiMAX คือ AIS และ TT&T ถ้า กทช ให้ commercial ไลเซนน์ ก็จะมี WiMAX ออกมาขายกัน

3G

พัฒนาการเครือข่ายเดิมให้รองรับข้อมูลความเร็วสูงขึ้น รองรับการใช้งานได้มากขึ้น การลงทุนถูกลง ทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์

  • 1G : มือถือยุคแรก หลักการคือ ทำยังไงก็ได้ทำให้ fixed line กลายเป็น wireless เช่น โทรศัพท์มือถือตามบ้าน , pct เป็นต้น ทำให้ดักฟังง่ายมากเพราะเป็น FM ธรรมดา และอุปกรณ์เป็น analog
  • 2G : อุปกรณ์เป็น digital ไม่สามารถดักฟังได้ มีการ roaming คือ เครื่องเดิม เบอร์เดิม ย้ายประเทศก็ใช้ได้ แต่ในระบบ2Gนี้ความเร็วยังคงต่ำอยู่
  • 3G : มี 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบ GSM ส่วนแบ่งการตลาด 99.5% เช่น AIS ,DTAC, TRUE MOVE , Thai mobile อีกระบบคือ CDMA ส่วนแบ่งการตลาด 0.5% มีความต้องการใช้เหลือค่ายเดียว และมีความเร็วสูงขึ้น โดยมี service concept คือ 1service ใช้ได้ทุกเครือข่ายไม่ว่าจะ access จาก WiFi , Mobile หรือ Fixed line
  • 4G : โลกของ IP ความเร็วสูงกว่า 100 Mbps ขึ้นไป (ในปี 2511 ประเทศญี่ปุ่นจะ commercial ระบบ 4G)

ความเร็ว (ตัวเลขทางทฤษฎี) :GSM น้อยกว่า 10kbps, GPRS 20-40 kbps, EDGE 384 kbps, 3G 2Mbps, HSDPA 14.4 Mbps ,CDMA 300 kbps

CDMA vs WCDMA : CDMA มี bandwidth 1.25 MHz และ WCDMA มี bandwidth 5 MHz ดังนั้น WCDMA มี bandwidth ที่มากกว่า CDMA

ถ้าพูดถึง convergence จะคิดถึงอะไร?

convergence เป็นบริการเดียวกันแต่ใช้หลายสื่อ เช่น VDO on demand ถ้าลูกชายอยากดู VDO ที่กำหนดอายุผู้ชม ระบบจะส่ง sms ไปถามการอนุญาติจากคุณพ่อก่อน ถ้าคุณพ่ออนุญาติลูกชายถึงจะดูได้ ....อารายยังเงียะ

Soft-Phone

ในการโทรศัพท์ภายในองค์กร ไม่ต้องใช้ตัวโทรศัพท์จริง ใช้เพียง software ติดต่อผ่าน IP protocol ทั้งหมด

IP Phone

เสียบสาย LAN แทนสาย โทรศัพท์

iphone

T-mobile ร่วมมือกับ Apple ทำ iphone เพียง 3 ล้านเครื่องทั่วโลก โดย 2 ล้านเครื่องมีจำหน่ายในอเมริกา ส่วนอีก 1 ล้านเครื่องหายสาบสูญ -*-

Easy 5 Terminal

เป็นโทรศัพท์สำหรับผู้สูงอายุ memory เบอร์โทรศัพท์ได้ 4 เบอร์ ใช้โทรเข้า-ออก อย่างเดียว

Home Plug & PLC

ซื้อ ADSL มาแล้วแต่อยากเล่นข้างบนบ้าน สายไม่ถึง ไม่อยากใช้ WiFi กลัวข้างบ้านแย่งเล่น หลักการคือการนำสัญญาณ digital ไป modulate กับสายไฟฟ้าที่บ้าน (Power Line Communication) แล้วนำไปใช้ได้เลย (ยี่ห้อ Corunex>> Broadcast บนสายไฟแรงสูง)

WMN (Wireless Mesh Network)

หลักการคือ ใช้สายจุดเดียวแล้วใช้ WiFi ส่งเป็น hope ต่อๆกันไป ใช้ได้ทั้งหมู่บ้าน

ทั้งหมดของวันนี้ก็ประมาณนี้แหละ หุหุ......

Train เสร็จ พวกเราก็พากันเดินกลับมาที่ NOC เพื่อซ้อมทำพรีเซ้นต์ในวันพรุ่งนี้อีกครั้ง (เพื่อนๆไปโยนโบลิ่งกันหมดแล้ว T^T )

เตรียมการ

18 เมษายน 2551 : เตรียมงานกันให้วุ่น

วันนี้ก็วันศุกร์ซะแล้ว การพรีเซ้นต์แผนก NOC ก็เริ่มใกล้เข้ามาทุกที แต่ดูเหมือนพวกเรายังไม่ได้เตรียมอะไรกันเลยด้วยสิ ทุกคนเริ่มตั้งความหวังไว้กับ powerpoint ของพี่ฟริ้น(สุดหล่อ) อย่างตาเป็นมัน เปิดไปดูในสไลด์ โอ้วว...มีแต่ภาษาอังกฤษ จะไฮโซเกินไปแล้ววว...แต่ก็นะ...ยังไงก็เป็นความหวังเดียวของเรานี่หน่า ติดใจก็แต่ flash ของพี่ฟริ้น(หล่อสุดๆ....ยอกันจัง 55+) หวังว่าเพื่อนๆคงจะเข้าใจหน้าที่การทำงานของแผนก NOC ด้วย flash อันนี้แหละ !!!

พวกเราเริ่มตาลีตาลานไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี มีการประชุมแบ่งงานกันอย่างเป็นสัดส่วนโดยมีเพื่อนร่วมชะตากรรมเพิ่มมาอีก 1 คน ชื่อว่าแหว๋ว (ว้า..ไม่มีรูปมาอวด) แหว๋วฝึกอยู่ที่ CFM อยู่ฟากตรงกันข้ามกัน จะมาร่วมพรีเซ้นต์แผนก NOC ด้วยกันอีกคน

มีการทำป้ายแนะนำแผนก แปะตามจุดต่างๆ แล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้าน โดยมีการนัดแนะกันว่าวันจันทร์ 5 โมงครึ่ง จะมีการซ้อมพรีเซ้นต์กันครั้งสุดท้าย...... - _ - " - * -

โปรดติดตามตอนต่อไป